星期五, 四月 17, 2015

Tittha

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 6/386/3  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
อรรถกถาวินิจฉัยในอุโบสถขันธกะ
ในบทว่า อญฺญติตฺถิยา นี้ มีวิเคราะห์ว่า ลัทธิ ท่านเรียกให้ชื่อว่า
ติตถะอาทิผิด อักขระ แปลว่าท่า ท่าอื่น ชื่ออัญญติตถะ, ท่าอื่นของชนเหล่านั้น มีอยู่เหตุนั้น
ชนเหล่านั้น จึงชื่อว่า อัญญเดียรถีย์ มีคำอธิบายว่า ผู้มีลัทธิอื่นจากลัทธิใน
ศาสนานี้.
สองบทว่า ธมฺมํ ภาสนฺติ มีความว่า ย่อมชี้แจงถึงสิ่งที่ควรทำและ
ไม่ควรทำของเหล่าอัญญเดียรถีย์นั้น.
สองบทว่า เต ลภนฺติ คือ มนุษย์เหล่านั้นย่อมได้.
บทว่า มูคสูกรา คือ เหมือน สุกรตัวอ้วน.
ในข้อว่า อนชฺฌาปนฺโน วา โหติ อาปชฺชิตฺวา วา วุฏฺฐิโต
นี้ พึงทราบเนื้อความอย่างนี้ว่า ภิกษุไม่ต้องอาบัติใด หรือต้องแล้ว แต่ออก
แล้ว อาบัติ นี้ชื่อว่า อาบัติไม่มี.
ข้อว่า สมฺปชานมุสาวาโท กึ โหติ มีความว่า สัมปชานมุสาวาท
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า สัมปชานมุสาวาทย่อมมีแก่ภิกษุนั้น นี้ว่าโดยอาบัติ
เป็นอาบัติอะไร ? คือ เป็นอาบัติชนิดไหน ?
ข้อว่า ทุกฺกฏํ โหติ คือเป็นอาบัติทุกกฏ. ก็อาบัติทุกกฏนั้นแล ผู้
ศึกษาอย่าพึงเข้าใจว่า เป็นอาบัติตามลักษณะแห่งมุสาวาท แต่ควรทราบว่า
เป็นอาบัติมีการไม่ทำในวจีทวารเป็นสมุฏฐาน ตามพระวาจาของพระผู้มีพระ
ภาคเจ้า อันที่จริงพระอุบาลีเถระก็ได้กล่าวว่า.
ภิกษุไม่บอกด้วยวาจากับมนุษย์ไร ๆ (ผู้อยู่ใกล้) และไม่เอิ้น
บอกกะชนเหล่าอื่น (ผู้อยู่ห่าง) แต่ต้องอาบัติมีวาจาเป็นสมุฏฐาน
 
พระปิฎกธรรม

没有评论: