星期一, 五月 30, 2016

Prakop

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 77/437/13 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
[๒๖๘] โสกะ เป็นไฉน ?
ความโศกเศร้า กิริยาโศกเศร้า สภาพโศกเศร้า ความแห้งผากภายใน
ความแห้งกรอบภายใน ความเกรียมใจ ความโทมนัส ลูกศรคือความโศกเศร้า
ของผู้ที่ถูกความเสื่อมญาติ ความเสื่อมโภคทรัพย์ ความเสื่อมเกี่ยวด้วยโรค
ความเสื่อมศีล หรือความเสื่อมทิฏฐิ กระทบแล้ว ของผู้ประกอบด้วยความ
เสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่ง ของผู้ที่ถูกเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว
นี้เรียกว่า โสกะ.
[๒๖๙] ปริเทวะ เป็นไฉน ?
ความร้องไห้ ความคร่ำครวญ กิริยาร้องไห้ กิริยาคร่ำครวญ
สภาพร้องไห้ สภาพคร่ำครวญ ความบ่นถึง ความพร่ำเพ้อ ความร่ำไห้
ความพิไรร่ำ กิริยาพิไรร่ำ สภาพพิไรร่ำ ของผู้ที่ถูกความเสื่อมญาติ ความ-
เสื่อมโภคทรัพย์ ความเสื่อมเกี่ยวด้วยโรค ความเสื่อมศีล หรือความเสื่อมทิฏฐิ
กระทบแล้ว ของผู้ประกอบอาทิผิด สระด้วยความเสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่ง ของผู้ที่ถูกเหตุ
แห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว นี้เรียกว่า ปริเทวะ.
[๒๗๐] ทุกข์ เป็นไฉน ?
ความไม่สบายกาย ความทุกข์กาย ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สบาย เป็น
ทุกข์อันเกิดแก่กายสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์อันเกิดแต่กาย
สัมผัส อันใด นี้เรียกว่า ทุกข์.
[๒๗๑] โทมนัส เป็นไฉน ?
ความไม่สบายใจ ความทุกข์ใจ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์
อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์อันเกิดแต่เจโตสัมผัส
อันใด นี้เรียกว่า โทมนัส.
 
พระปิฎกธรรม

星期三, 五月 25, 2016

Kliat

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 7/286/12 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ของหม่อมฉันแล้ว อาพาธจักทุเลา ท่านจักไม่มรณภาพ หม่อมฉันเห็นอำนาจ
ประโยชน์นี้ จึงปรารถนาจะถวายคิลานเภสัชแก่พระสงฆ์ จนตลอดชีพ.
๗. อนึ่ง ข้ออื่นยังมีอีก พระพุทธเจ้าข้า พระองค์ทรงเห็นอานิสงส์
๑๐ ประการ ได้ทรงอนุญาตยาคูไว้แล้ว ที่เมืองอันธกวินทะ หม่อมฉันเห็น
อานิสงส์ตามที่พระองค์ตรัสนั้น จึงปรารถนาจะถวายยาคูประจำแก่สงฆ์ จน
ตลอดชีพ.
๘. พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุณีทั้งหลายเปลือยกายอาบน้ำร่วมท่ากับหญิง
แพศยา ณ แม่น้ำอจิรวดีนี้ หญิงแพศยาเหล่านั้นพากันเย้ยหยันภิกษุณีว่า แม่เจ้า
พวกท่านกำลังสาวประพฤติพรหมจรรย์จะได้ประโยชน์อะไร ควรบริโภค
กามมิใช่หรือ ประพฤติอาทิผิด อักขระพรหมจรรย์ต่อเมื่อแก่เฒ่า อย่างนี้ จักเป็นอันพวก
ท่านยึดส่วนทั้งสองไว้ได้ ภิกษุณีเหล่านั้นถูกพวกหญิงแพศยาเย้ยหยันอยู่ ได้
เป็นผู้เก้อ ความเปลือยกายของมาตุคามอาทิผิด สระไม่งาม น่าเกลียดอาทิผิด อักขระ น่าชัง หม่อมฉัน
เห็นอำนาจประโยชน์นี้จึงปรารถนาจะถวายผ้าอุทกสาฎก แก่ภิกษุณีสงฆ์ จน
ตลอดชีพ.
ภ. วิสาขา ก็เธอเห็นอานิสงฆ์อะไร จึงขอพร ๘ ประการต่อตถาคต
วิ. พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุทั้งหลายในพระธรรมวินัยนี้ จำพรรษาใน
ทิศทั้งหลายแล้ว จักมาพระนครสาวัตถี เพื่อเฝ้าพระองค์ แล้วจักทูลถามว่า
ภิกษุมีชื่อนี้ถึงมรณภาพแล้ว ท่านมีคติอาทิผิด อักขระอย่างไร มีภพหน้าอย่างไร พระพุทธเจ้า
ข้า พระองค์จักทรงพยากรณ์ภิกษุนั้นในโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล
หรืออรหัตผล หม่อมฉันจักเข้าไปหาภิกษุพวกนั้น แล้วเรียนถามว่า พระคุณ
เจ้ารูปนั้นเคยมาพระนครสาวัตถีไหมเจ้าข้า ถ้าท่านเหล่านั้นจักตอบแก่หม่อม-
 
พระปิฎกธรรม

星期二, 五月 24, 2016

Phrom

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 13/146/6 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ผู้เจริญทั้งหลาย พระธรรมสงบหนอ ประณีตหนอดังนี้ จักตั้งใจฟัง ดังนี้.
พึงทราบว่า อาศัยเหตุนี้ จิตของพระองค์จึงน้อมไป เพื่อความที่พระองค์เป็น
ผู้มีความขวนขวายน้อย ไม่น้อมไปเพื่อจะทรงแสดงธรรม.
ในบทว่า อญฺญตรสฺส นี้ ท่านอาทิผิด อักขระกล่าวว่า อญฺญตโร ก็จริง ถึงดังนั้น
พึงทราบว่า นั่นคือมหาพรหมผู้ใหญ่ในจักรวาลนี้. บทว่า นสฺสติ วต โภ โลโก
ความว่า นัยว่ามหาพรหมนั้นเปล่งเสียงนี้ โดยที่หมู่พรหมอาทิผิด อักขระใน หมื่นโลกธาตุ
สดับแล้ว ทั้งหมดประชุมกัน. บทว่า ยตฺร หิ นาม คือในโลกชื่อใด. บทว่า
ปุรโต ปาตุรโหสิ ความว่า มหาพรหมได้ปรากฏพร้อมกับพรหมหนึ่งหมื่น
เหล่านั้น. บทว่า อปฺปรชกฺขชาติกา ความว่า ธุลีอาทิผิด อักขระ คือราคะโทสะและโมหะ
เบาบาง คือนิดหน่อย ในดวงตาอันสำเร็จด้วยปัญญา สภาพอย่างนี้ของสัตว์
ทั้งหลายเหล่านั้นยังมีอยู่ เพราะเหตุนั้น สัตว์ทั้งหลายชื่อว่า อปฺปรชกฺขชาติกา
คือ มีกิเลสอาทิผิด อักขระเพียงดังธุลีในจักษุเบาบาง. บทว่า อสฺสวนตา คือเพราะมิได้ฟัง.
บทว่า ภวิสฺสนฺติ ความว่า ท่านแสดงว่า สัตว์ทั้งหลายผู้สร้างสมบุญไว้แล้ว
ถึงความแก่กล้าในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ด้วยสามารถบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ หวัง
พระธรรมเทศนาอย่างเดียวเหมือนประทุมชาติหวังแสงอาทิตย์ เป็นผู้ควรหยั่ง
ลงสู่อริยภูมิ ในเมื่อจบคาถา ๔ บท ไม่ใช่คนเดียว ไม่ใช่สองคน มีหลายแสน
จักเป็นผู้รู้ธรรม ดังนี้.
บทว่า อชฺเฌสนํ คือวิงวอนอย่างนี้ ๓ ครั้ง. บทว่า พุทฺธจกฺขุนา
ความว่า ด้วยปรีชากำหนดรู้ความหย่อนและยิ่ง แห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย
และด้วยอาสยานุสยญาณ. บทว่า พุทฺธจกฺขุ เป็นชื่อแห่งญาณทั้งสองนี้. บทว่า
สมนฺตจกฺขุ เป็นชื่อแห่งพระสัพพัญญุตญาณ. บทว่า ธมฺมจกฺขุ เป็นชื่อแห่ง
มรรคญาณ ๓. ในบทว่า อปฺปรชกฺเข เป็นต้น ความว่า สัตว์ที่มีธุลีมีราคะ
เป็นต้น ในปัญญาจักษุน้อยโดยนัยที่กล่าวนั้นแล. ชื่อว่า อปฺปรชกฺขา คือมี
 
พระปิฎกธรรม

星期日, 五月 22, 2016

Kilet

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 18/20/16 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ตรัสแล้วมีอยู่ ดังนี้ มีเนื้อความโดยย่อดังนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ใด บำเพ็ญบารมี ๓๐ ทัศอาทิผิด อักขระ กำจัดกิเลสทั้งปวง ตรัสรู้โดยชอบยิ่ง ซึ่งสัมมา-
สัมโพธิอันยวดยิ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้รู้อาสยานุสัยของสัตว์
เหล่านั้น ๆ ผู้เห็นธรรมที่ควรรู้ทั้งหมด เหมือนมะขามป้อมที่วางไว้บนฝ่ามือ
ฉะนั้น. อนึ่ง ทรงรู้ด้วยญาณทั้งหลายมีปุพเพนิวาสญาณเป็นต้น ทรงเห็น
ด้วยทิพยจักษุ. อนึ่ง ทรงรู้ด้วยวิชชา ๓ หรือ อภิญญา ๖ ทรงเห็นด้วยสมันต-
จักษุ อันไม่ติดขัดในที่ทั้งปวง. ทรงรู้ด้วยปัญญาอันสามารถที่จะรู้ธรรมทั้งปวง
ทรงเห็นรูปทั้งหลายที่ล่วงจักษุวิสัยของสัตว์ทั้งปวง หรือที่อยู่ในกำแพงเป็นต้น
ด้วยมังสจักษุอันหมดจดยิ่ง ทรงรู้ด้วยปฏิเวธปัญญาอันเป็นปทัฏฐานแห่งสมาธิ
อันยังอาทิผิด ประโยชน์ตนให้สำเร็จ ทรงเห็นด้วยเทศนาปัญญา อันเป็นปทัฏฐานแห่ง
กรุณา อันยังประโยชน์คนอื่นให้สำเร็จ. ชื่อว่า เป็นพระอรหันต์ เพราะความ
ที่กิเลสอันเป็นข้าศึกทั้งหลายทรงละได้แล้ว และเพราะความที่พระองค์เป็นผู้
สมควรแก่ปัจจัยเป็นต้น. ชื่อว่า สัมมาสัมพุทธะ เพราะความที่สัจจะทั้งหลาย
อันพระองค์ตรัสรู้แล้วโดยชอบ และด้วยพระองค์เอง. อนึ่ง ทรงรู้ธรรมอัน
ประกอบด้วยอันตรายทั้งหลาย ทรงเห็นธรรมอันเป็นเครื่องนำสัตว์ออกจาก
ทุกข์ทั้งหลาย ชื่อว่า เป็นพระอรหันต์ เพราะความที่ข้าศึกคือกิเลสอาทิผิด อักขระทั้งหลาย
อันพระองค์ละได้แล้ว ชื่อว่า สัมมาสัมพุทธะ เพราะความที่ธรรมทั้งปวง
อันพระองค์ตรัสรู้แล้ว ด้วยพระองค์เอง อันมหาชนชมเชยแล้วด้วยอาการ ๔
ด้วยสามารถแห่งเวสารัชชะ ๔ ได้ตรัสธรรม ๔ ด้วยประการฉะนี้. พวกเรา
ใด เห็นธรรมเหล่านี้ในตน จงกล่าวอย่างนี้ จงอย่ากล่าวถึงการบำรุงช่วยเหลือ
หรือกำลังกายของพระราชาและราชมหาอำมาตย์เป็นต้น. บทว่า สตฺถริ
ปสาโท ได้แก่ความเลื่อมใสที่เกิดขึ้นแก่ผู้ระลึกถึงพุทธคุณโดยนัยมีอาทิว่า
แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น. บทว่า ธมฺเม ปสาโท
 
พระปิฎกธรรม

星期五, 五月 20, 2016

Watta

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 5/293/21 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
อรรถกถาตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๓
วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๓ พึงทราบดังนี้:-
บทว่า อุฬารสมฺภาวิตา มีความว่า อันคนทั้งหลายยกย่องว่าเป็น
ผู้เยี่ยมกว่า เพราะเป็นผู้บวชจากตระกูลสูง และเพราะเป็นผู้เยี่ยมกว่าโดยคุณ
ทั้งหลาย.
บทว่า อิสฺสาปกตา มีความว่า ผู้ถูกความริษยาย่ำยี คือครอบงำแล้ว.
ภิกษุณีเหล่านี้ มีการอภิปรายมากมาย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้
สาละวนอยู่ด้วยการอภิปรายให้คนอื่นเข้าใจ. อธิบายว่า ชี้แจงให้มหาชนเข้าใจ
ตลอดทั้งวัน.
ภิกษุณีเหล่านี้ มีการชี้แจงอรรถให้แจ่มแจ้งมากมาย เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า ผู้สาละวนอยู่ด้วยการชี้แจงอรรถให้แจ่มแจ้ง.
พึงทราบว่า วิญฺญตฺติ ได้แก่ การชี้แจงอรรถให้แจ่มแจ้ง โดยนัย
ต่าง ๆ มีเหตุและอุทาหรณ์เป็นต้น. ไม่พึงเข้าใจว่า การออกปากขอ. พึงทราบ
ว่า เป็นอาบัติมากตัว โดยนับการเดินกลับไปมา ในการจงกรม
ในคำว่า ติฏฺฐติ วา เป็นต้น พึงทราบว่า เป็นอาบัติมากตัว โดย
นับประโยค.
ในคำว่า อุทฺทิสติ วา เป็นต้น พึงทราบว่า เป็นอาบัติมากตัว โดย
การนับบทเป็นต้น คำที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน ๓ เป็นทั้งกิริยาทั้งอกิริยา สัญญาวิโมกข์
สจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต เป็นทุกขเวทนา แล.
อรรถกถาตุวัฏฏอาทิผิด สระวรรค สิกขาบทที่ ๓ จบ
 
พระปิฎกธรรม

星期三, 五月 18, 2016

Chat

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 22/294/12 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
นี้จึงไม่มี เพราะเหตุนี้ดับ ผลนี้จึงดับ คือ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร
เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงมีนามรูป
เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัยจึงมีผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงมีตัณหา เพราะ
ตัณหาเป็นปัจจัยจึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงมีภพ เพราะภพ
เป็นปัจจัยจึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ
ทุกข์ โทมนัส อุปายาส อย่างนี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ แต่
เพราะอวิชชานั่นแลดับด้วยวิราคะไม่มีส่วนเหลือ จึงดับสังขารได้ เพราะสังขาร
ดับ จึงดับวิญญาณได้ เพราะวิญญาณดับ จึงดับนามรูปได้ เพราะนามรูปดับ จึง
ดับสฬายตนะได้ เพราะสฬายตนะดับ จึงดับผัสสะได้ เพราะผัสสะดับ จึงดับ
เวทนาได้ เพราะเวทนาดับ จึงดับตัณหาได้ เพราะตัณหาดับ จึงดับอุปาทานได้
เพราะอุปาทานดับ จึงดับภพได้ เพราะภพดับ จึงดับชาติได้ เพราะชาติอาทิผิด อักขระดับจึง
ดับชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสได้ ความดับ
แห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีมาอย่างนี้ ดูก่อนอานนท์ ด้วยเหตุเท่านี้แล จึง
ควรเรียกได้ว่า ภิกษุผู้ฉลาดในปฏิจจอาทิผิด อักขระสมุปบาท.
[๒๔๕] อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ด้วยเหตุเท่าไร จึงควรเรียกว่า
ภิกษุผู้ฉลาดในฐานะและอฐานะ ?
ภ. ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

ฐานะและอฐานะอย่างละ ๒

(๑) ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือบุคคลผู้ถึงพร้อม
ด้วยทิฏฐิ พึงเข้าใจสังขารอะไร ๆ โดยความเป็นของเที่ยงอาทิผิด  นั่นไม่ใช่ฐานะที่มี
 
พระปิฎกธรรม

星期日, 五月 15, 2016

Thukhati

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 34/236/12 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
นี่วิชชาที่ ๑ อันภิกษุนั้นได้บรรลุ อวิชชาหายไป วิชชาเกิดขึ้น ความมืด
หายไป ความสว่างเกิดขึ้น (เป็นผล) สมแก่ที่ภิกษุเป็นผู้ไม่ประมาทมีความ
เพียร มีตนอันส่งไปอยู่ (เด็ดเดี่ยว)
ภิกษุนั้น ครั้นจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์สะอาด ไม่มีมลทิน ปราศจาก
อุปกิเลส เป็นจิตอ่อนควรแก่งาน ตั้งอยู่ไม่หวั่นไหวอย่างนี้แล้ว น้อมจิตไป
เพื่อจุตูปปาตญาณ (วิชชากำหนดรู้ความตายความเกิด) แห่งสัตว์ทั้งหลาย
เธอก็เห็นสัตว์ทั้งหลายกำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ดี ผิวพรรณงาม
ผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยจักษุทิพย์อันแจ่มใสเกินจักษุมนุษย์สามัญ
รู้ชัดว่าสัตว์ทั้งหลายเป็นตามกรรม (ชี้ได้) ว่า สัตว์เหล่านี้ เจ้าข้า ประกอบ
ด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า มีความเห็นผิด
กระทำกรรมไปตามความเห็นผิด สัตว์เหล่านั้นเพราะกายแตกตายไปก็ไปอบาย
ทุคติอาทิผิด สระ วินิบาต นรก หรือว่า สัตว์เหล่านี้ เจ้าข้า ประกอบด้วยกายสุจริต
วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยะ มีความเห็นชอบ กระทำกรรม
ไปตามความเห็นชอบ สัตว์เหล่านั้น เพราะกายแตกตายไป ก็ไปสู่สุคติโลก
สวรรค์ เธอเห็นสัตว์ทั้งหลายกำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ดี ผิวพรรณงาม
ผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยจักษุทิพย์อันแจ่มใสเกินจักษุมนุษย์สามัญ
รู้ชัดว่าสัตว์ทั้งหลายเป็นตามกรรม อย่างนี้ นี่วิชชาที่ ๒ อันภิกษุนั้นได้บรรลุ
อวิชชาหายไป วิชชาเกิดขึ้น ความมืดหายไป ความสว่างเกิดขึ้น (เป็นผล)
สมแก่ที่ภิกษุเป็นผู้ไม่ประมาทมีความเพียร มีตนอันส่งไปอยู่
ภิกษุนั้น ครั้นจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์สะอาดไม่มีมลทินปราศจาก
อุปกิเลส เป็นจิตอ่อนควรแก่งาน ตั้งอยู่ไม่หวั่นไหวอย่างนี้แล้ว น้อมจิตไป
เพื่ออาสวักขยญาณ (วิชชาทำอาสวะให้สิ้น) เธอรู้ชัดตามจริงว่า นี้ทุกข์
๑. เป็นสำนวนอย่างหนึ่ง หมายความว่า อุทิศร่างกายและชีวิตเพื่อทำการอันนั้นให้สำเร็จจงได้
๒. ทิพจักษุญาณ ก็เรียก
 
พระปิฎกธรรม

星期六, 五月 14, 2016

Pen

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 33/237/8 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
อิทธิบาท ที่ภิกษุนั้นอาศัยเจริญวิปัสสนา ในกาลนั้น เป็นโลกิยะใน
เบื้องต้น เป็นโลกุตระในเบื้องปลาย แม้อิทธิบาทที่เหลือ ก็อย่างนั้น
ดังนี้. ในพระสูตรแม้นี้ ก็ตรัสอิทธิบาทอันเป็นทั้งโลกิยะและโลกุตระ.
ก็ศรัทธาในบทว่า สทฺธินฺทฺริยํ ภาเวติ ดังนี้ เป็นต้น ชื่อว่า
สัทธินทรีย์ เพราะกระทำความเป็นใหญ่ในศรัทธาธุระของตน. แม้ใน
วิริยินทรีย์เป็นต้น ก็นัยนี้แหละ. ก็ในบทว่า ภาเวติ นี้ พระโยคาวจรผู้
เริ่มบำเพ็ญเพียร ชำระสัทธินทรีย์ให้หมดจดด้วยเหตุ ๓ ประการ ชื่อว่า
เจริญสัทธินทรีย์. แม้ในวิริยินทรีย์เป็นอาทิผิด สระต้น ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
สมจริงดังที่ท่านพระสารีบุตรกล่าวไว้ว่า
สัทธินทรีย์ย่อมบริสุทธิ์ด้วยเหตุ ๓ ประการเหล่านี้
แก่บุคคลผู้เว้นบุคคลผู้ไม่มีศรัทธา ผู้เสพ คบ เข้าไป
นั่งใกล้บุคคลผู้มีศรัทธา ผู้พิจารณาพระสูตรอันน่า
เลื่อมใส.
วิริยินทรีย์ย่อมบริสุทธิ์ด้วยเหตุ ๓ ประการเหล่านี้
แก่บุคคลผู้เว้นบุคคลผู้เกียจคร้าน ผู้เสพ คบ เข้าไป
นั่งใกล้บุคคลผู้ปรารภความเพียร ผู้พิจารณาสัมมัป-
ปธาน (ความเพียรชอบ).
สตินทรีย์ย่อมบริสุทธิ์ด้วยเหตุ ๓ ประการเหล่านี้
แก่บุคคลผู้เว้นบุคคลผู้มีสติหลงลืม ผู้เสพ คบ เข้าไป
นั่งใกล้บุคคลผู้มีสติปรากฏ ผู้พิจารณาสติปัฏฐาน.
สมาธินทรีย์ย่อมบริสุทธิ์ด้วยเหตุ ๓ ประการ
 
พระปิฎกธรรม

星期五, 五月 13, 2016

Fat

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 6/19/12  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ประทับนั่งอย่างนั้นที่ต้นอชปาลนิโครธนี้ พราหมณ์คนหนึ่งได้มาทูลถามปัญหา
กะพระองค์. เพราะเหตุนั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์จึงกล่าวคำว่า อถ โข
อญฺญตโร เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า หุํหุํกชาติโก มีความว่า ได้ยินว่า
พราหมณ์นั้น ชื่อทิฏฐมังคลิกะ เที่ยวตวาดว่า หึหึ ด้วยอำนาจความถือตัว และ
ด้วยอำนาจความโกรธ เพราะฉะนั้น เขาจึงเรียกแกว่า พราหมณ์หุงหุงกะชาติ
บางอาจารย์ก็กล่าวว่า พราหมณ์หุหุกชาติบ้าง.
สองบทว่า เอตมตฺถํ วิทิตฺวา มีความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
ทราบใจความสำคัญแห่งคำที่แกกล่าวนั้น จึงทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้น.
เนื้อความแห่งอุทานนั้นว่า พราหมณ์ใด ชื่อว่าเป็นพราหมณ์
เพราะมีบาปธรรมอันลอยเสียแล้ว จึงได้เป็นผู้ประกอบด้วยบาปธรรมมีกิเลส
เป็นเครื่องขู่ผู้อื่นว่า หึหึ และกิเลสดุจน้ำฝาดอาทิผิด อักขระเป็นต้น เพราะค่าอาทิผิด อักขระที่มาถือว่า สิ่งที่
เห็นแล้วเป็นมงคล ปฏิญาณข้อที่ตนเป็นพราหมณ์ด้วยเหตุสักว่าชาติอย่างเดียว
หามิได้ พราหมณ์นั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีบาปธรรมอันลอยแล้ว เพราะเป็นผู้ลอย
บาปธรรมเสีย ชื่อว่าผู้ไม่มีกิเลสเป็นเครื่องขู่ผู้อื่นว่า หึหึ เพราะมาละกิเลส
เป็นเครื่องขู่ผู้อื่นว่า หึหึ เสียได้ ชื่อว่าผู้ไม่มีกิเลสดุจน้ำอาทิผิด สระฝาด เพราะไม่มีกิเลส
ดุจน้ำฝาดมีราคะเป็นต้น ชื่อว่ามีตนสำรวมแล้ว เพราะเป็นผู้มีจิตประกอบด้วย
ภาวนานุโยค อนึ่ง ชื่อว่าผู้มีตนสำรวมแล้ว เพราะเป็นผู้มีจิตสำรวมแล้วด้วย
ศีลสังวร ชื่อว่าผู้จบเวทแล้ว เพราะเป็นผู้ถึงที่อาทิผิด อาณัติกะสุดด้วยเวททั้งหลาย กล่าวคือ
จตุมรรคญาณ หรือเพราะเป็นผู้เรียนจบไตรเพท ชื่อว่าผู้จบพรหมจรรย์แล้ว
เพราะพรหมจรรย์คือมรรค ๔ อันตนได้อยู่เสร็จแล้ว.
 
พระปิฎกธรรม

星期四, 五月 12, 2016

Khwam

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 6/23/15  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
สองบทว่า สุโข วิเวโก มีความว่า อุปธิวิเวก กล่าวคือ นิพพาน
เป็นสุข.
บทว่า ตุฏฺฐสฺส มีความว่า ผู้สันโดษด้วยความยินดีในจตุมรรคญาณ.
บทว่า สุตธมฺมสฺส ได้แก่ ผู้มีธรรมปรากฏแล้ว.
บทว่า ปสฺสโต มีความว่า ผู้เห็นอยู่ซึ่งวิเวกนั้น หรือธรรม
อย่างใดย่างหนึ่งซึ่งจะพึงเห็นได้ทั้งหมด ด้วยดวงตาคือญาณ ซึ่งได้บรรลุ
ด้วยกำลังความเพียรของตน.
ความไม่เกรี้ยวกราดกัน ชื่อว่าความไม่เบียดเบียนกัน.
ธรรมเป็นส่วนเบื้องต้นแห่งเมตตา พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงด้วย
บทว่า ความไม่เบียนเบียดนั้น.
สองบทว่า ปาณภูเตสุ สญฺญโม มีความว่า และความสำรวม
ในสัตว์ทั้งหลาย อธิบายว่า ความที่ไม่เบียดเบียนกัน เป็นความสุข.
ธรรมเป็นส่วนเบื้องต้น แห่งกรุณา พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงด้วย
บทว่า ความสำรวมนั้น.
บาทคาถาว่า สุขา วิราคตา โลเก มีความว่า แม้ความปราศจาก
กำหนัด ก็จัดเป็นความสุข.
ถามว่า ความปราศจากกำหนัดเป็นเช่นไร ?
ตอบว่า คือความล่วงกามทั้งหลายเสีย.
อธิบายว่า ความปราศจากกำหนัดอันใด ที่ท่านเรียกว่าความล่วงกาม
ทั้งหลายเสีย แม้ความปราศจากกำหนัดอันนั้น ก็จัดเป็นความสุข. อนาคามิ-
มรรค พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยบทว่า ความปราศจากกำหนัดนั้น.

๑. สุต ศัพท์ในที่นี้ ท่านให้แปลว่า ปรากฏ. เช่นอ้างไว้ใน สุมงฺคลวิลาสินี ภาค ๑ หน้า ๓๗.
 
พระปิฎกธรรม

星期二, 五月 10, 2016

Nirot

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 68/251/18 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
สภาพที่แทงตลอดด้วยการทำให้แจ้งรูปนิโรธ สภาพที่แทงตลอดด้วย
การเจริญรูปนิโรธคามินีปฏิปทา สภาพที่แทงตลอดด้วยการเจริญเวทนา
ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ ฯลฯ จักขุ ฯลฯ
สภาพที่แทงตลอดด้วยการกำหนดรู้ชรามรณะ สภาพที่แทงตลอดด้วย
การละชรามรณสมุทัย สภาพที่แทงตลอดด้วยการทำให้แจ้งชรามรณ-
นิโรธ สภาพที่แทงตลอดด้วยการเจริญชรามรณนิโรธคามินีปฏิปทา
ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง.
[๑๓] ทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ความดับทุกข์ ความดับเหตุ
ให้เกิดทุกข์ ความดับฉันทราคะในทุกข์ ความยินดีในทุกข์ โทษแห่ง
ทุกข์ อุบายเครื่องสลัดออกแห่งทุกข์ รูป เหตุให้เกิดรูป ความดับเหตุ
ให้เกิดรูป ความยินดีในรูป โทษแห่งรูป อุบายเครื่องสลัดออกแห่ง
รูป แห่งเวทนา ฯลฯ แห่งสัญญา ฯลฯ แห่งสังขาร ฯลฯ แห่ง
วิญญาณ ฯลฯ แห่งจักขุ ฯลฯ ชราและมรณะ เหตุให้เกิดชราและ
มรณะ ความดับชราและมรณะ ความดับเหตุให้เกิดชราและมรณะ
ความดับฉันทราคะในชราและมรณะ คุณแห่งชราและมรณะ โทษแห่ง
ชราและมรณะ อุบายเครื่องสลัดออกแห่งชราและมรณะ ควรรู้ยิ่งทุก
อย่าง.
[๑๔] ทุกข์ ทุกขสมุทัย ทุกขนิโรธอาทิผิด อักขระ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
ความยินดีในทุกข์ โทษแห่งทุกข์ อุบายเครื่องสลัดออกแห่งทุกข์ รูป
เหตุให้เกิดรูป ความดับรูป ปฏิปทาอันให้ถึงความดับรูป ความยินดี
 
พระปิฎกธรรม

星期六, 五月 07, 2016

Chatukka

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 68/259/3 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
โสตํ อภิญฺเญยฺยํ จักขุ... โสตะ ควรรู้ยิ่ง ในไปยาล (ละคำ) ว่า
จกฺขุํ ฯเปฯ ชรามรณํ - จักขุ ฯลฯ ชรามรณะ เป็นอันได้ ๑๙๕
จตุกกะ ด้วยอำนาจของจตุกกะอาทิผิด อักขระเหล่านั้น จึงเป็นการวิสัชนา ๗๘๐,
ในจตุกกะมีอาทิว่า ชรามรณํ อภิญฺเญยฺยํ - ชรามรณะควรรู้ยิ่งทั้งหมด
จึงเป็นการวิสัชนา ๘๐๘ ข้อ โดยประการฉะนี้ว่า จตฺตาริ วิสชฺชนานิ
การวิสัชนา ๔ ข้อ.
อนึ่ง ในการวิสัชนานี้ พึงทราบว่า ปัจจัยอันเป็นประธานของ
ธรรมนั้นๆ เป็นสมุทัย, นิพพานว่างจากสังขารทั้งปวงเป็นนิโรธ.
ในอธิการนี้ บทมีอาทิว่า อนญฺญาตญฺญสฺสามีตินฺทฺริยนิโรโธ การ
ดับอินทรีย์ คืออัธยาศัยที่มุ่งบรรลุมรรคผลของผู้ปฏิบัติ หมายถึงความ
ไม่มีอินทรีย์อันเป็นโลกุตระ ๓ ประการ มี อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์
เป็นต้น ถูกต้อง. บทว่า นิโรธคามินีปฏิปทา ในทุกแห่งเป็นอริยมรรค
ทั้งนั้น. แม้เมื่อท่านกล่าวถึงผลอย่างนี้ไว้ แม้ อัญญินทรีย์ ( อินทรีย์
คือการตรัสรู้สัจธรรมด้วยมรรค) อัญญาตาวินทรีย์ ( อินทรีย์ของ
พระอรหันต์ผู้ตรัสรู้สัจธรรมแล้ว) ย่อมถูกต้อง เพราะมีชื่อเรียกว่า มรรค.
พระสารีบุตรได้ชี้แจงถึงการวิสัชนา ๘๐๘ ข้อ ด้วยสภาพที่ควร
กำหนดรู้ทุกข์เป็นต้นต่อไป. ท่านได้ชี้แจงการวิสัชนา ๘๐๘ ข้อ ด้วย
สภาพที่แทงตลอดด้วยการกำหนดรู้ทุกข์เป็นต้นอีก. การกำหนดรู้และ
การแทงตลอดด้วยสภาพที่ควรแทงตลอด ชื่อว่า ปริญญาปฏิเวธะ.
 
พระปิฎกธรรม

星期五, 五月 06, 2016

Nang

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 23/268/9 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
๖. มหากัมมวิภังคสูตร

[๕๙๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่พระวิหารเวฬุวัน อันเคยเป็น
สถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์. สมัยนั้นแล ท่าน
พระสมิทธิอยู่ในกระท่อมในป่า. ครั้งนั้น ปริพาชกโปตลิบุตรเดินเล่นไปโดย
ลำดับเข้าไปหาท่านพระสมิทธิยังที่อยู่แล้ว ได้ทักทายปราศรัยกับท่านพระสมิทธิ
ครั้น ผ่านคำทักทายปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้าง
หนึ่ง.
[๕๙๙] ปริพาชกโปตลิบุตร พอนั่งอาทิผิด เรียบร้อยแล้ว ได้กล่าวกะท่าน
พระสมิทธิดังนี้ว่า ดูก่อนท่านสมิทธิ ข้าพเจ้าได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์
พระสมณโคดมดังนี้ว่า กายกรรมเป็นโมฆะ วจีกรรมเป็นโมฆะ มโนกรรม
เท่านั้น จริง และว่าสมาบัติที่บุคคลเข้าแล้วไม่เสวยเวทนาอะไร ๆ นั้น มีอยู่.
ท่านพระสมิทธิกล่าวว่า ดูก่อนโปตลิบุตรผู้มีอายุ ท่านอย่ากล่าวอย่าง
นี้ อย่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้า การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ดีเลย เพราะ
พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ตรัสอย่างนี้ว่า กายกรรมเป็นโมฆะ วจีกรรมเป็นโมฆะ
มโนกรรมเท่านั้น จริง และว่าสมาบัติที่บุคคลเข้าแล้วไม่เสวยเวทนาอะไร ๆ
นั้น มีอยู่.
ปริพาชก. ดูก่อนท่านสมิทธิ ท่านบวชมานานเท่าไรแล้ว.
สมิทธิ. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ไม่นาน เพียง ๓ พรรษา.
ปริพาชก. ในเมื่อภิกษุใหม่อาทิผิด เข้าใจการระแวดระวังศาสดาถึงอย่างนี้แล้ว
คราวนี้พวกเราจักพูดอะไรกะอาทิผิด ภิกษุผู้เถระได้ ดูก่อนท่านสมิทธิ บุคคลทำกรรม
ชนิดที่ประกอบด้วยความจงใจแล้วด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ เขาจะเสวยอะไร.
 
พระปิฎกธรรม

星期四, 五月 05, 2016

San

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 23/280/8 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ได้แก่ ทุกข์นั้นทั้งหมดเทียว. กล่าวว่า ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า พึงมีภาษิตไซร้
ดังนี้ หมายถึง วัฏฏทุกข์ กิเลสทุกข์ และสังขารทุกข์นี้ ด้วยประการฉะนี้.
บทว่า อุมฺมงฺคํ ได้แก่การปรากฏออกมาของปัญญา. บทว่า อมฺมุชฺชมาโน
ได้แก่ ยื่นศีรษะ. บทว่า อโยนิโส อุมฺมุชฺชิสฺสติ ได้แก่ โผล่ศีรษะโดย
ไม่มีอุบาย.
ก็แล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้เรื่องนี้ ไม่ใช่ทรงรู้ด้วยทิพยจักษุ
เจโตปริยญาณ และสัพพัญญุตญาณ. แต่ทรงรู้ด้วยอธิบายเท่านั้น. ก็เมื่อกล่าว
ธรรมดาอธิบายก็รู้ได้โดยง่าย ผู้ประสงค์จะกล่าวย่อมยืดคอ สั่นอาทิผิด อาณัติกะคาง ปากของ
เขาก็ขมุบขมิบ ไม่อาจเพื่อสงบนิ่งได้. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นอาการนั้น
ของพระอุทายีนั้นแล้ว ทรงดูแล้วว่า อุทายีนี้ ไม่อาจเพื่อจะสงบนิ่งได้จักกล่าว
ถ้อยคำที่ไม่เป็นจริงนั้นแล ได้ทรงรู้แล้ว. บทว่า อาทึเยว คือในเบื้องต้นนั้น
เทียว. บทว่า ติสฺโสว เทวทนา ความว่า ปริพาชกโปตลิบุตร เมื่อจะถาม
ว่า บุคคลนั้นจะเสวยอะไรก็กำหนดอย่างนี้ว่า เราจะถามเวทนาสามดังนี้ แล้ว
จึงถามเวทนาสาม. บทว่า สุขเวทนียํ ได้แก่ อันเป็นปัจจัยแห่งสุขเวทนา.
แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้เช่นเดียวกัน. ก็ในที่นี้ ชื่อว่า กรรมอันให้ผลเป็นสุข
เพราะเกิดสุขเวทนาในปฏิสนธิและประวัติอย่างนี้คือ เจตนาสี่ ซึ่งสัมปยุตด้วย
จิตที่สหรคตด้วยโสมนัส โดยกามาวจรกุศล เจตนาในฌานหมวดสามเบื้องต่ำ
ก็ในที่นี้ กามาวจรย่อมยังสุขโดยส่วนเดียวให้เกิดขึ้นในปฏิสนธินั้นเทียว ย่อม
ยังอทุกขมสุขให้เกิดขึ้นในมัชฌัตตารมณ์อัน น่าปรารถนาที่เป็นไปแล้ว. อกุศล
เจตนา ชื่อว่าให้ผลเป็นทุกข์ เพราะเกิดทุกข์เท่านั้นในปฏิสนธิและประวัติ
ก็ครั้นกายทวารเป็นไปแล้ว ก็ยังทุกข์โดยส่วนเดียวนั้นให้เกิดขึ้น. ย่อมยังอทุกขม
สุขให้เกิดขึ้นในวาระอื่น. ก็เวทนานั้น ถึงอันนับว่า ทุกข์นั้นเทียว เพราะ
 
พระปิฎกธรรม

星期二, 五月 03, 2016

Phro

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 36/244/4 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ปริยายแม้อื่นซึ่งเป็นเหตุให้ภิกษุสงฆ์พึง
อยู่เป็นผาสุก พึงมีอยู่หรือ.
พ. พึงมี อานนท์ แล้วตรัสต่อไปว่า ดูก่อนอานนท์ ภิกษุเป็นผู้
ถึงพร้อมด้วยศีลด้วยตนเอง ไม่ติเตียนผู้อื่นในเพราะอาทิผิด สระอธิศีล ฯ ล ฯ เป็นผู้ได้
ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง เป็น
เครื่องอยู่สบายในปัจจุบัน และย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ
อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน
เข้าถึงอยู่ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล ภิกษุสงฆ์พึงอยู่เป็นผาสุก.
ดูก่อนอานนท์ อนึ่ง เราย่อมกล่าวได้ว่า ธรรมเครื่องอยู่เป็นผาสุก
อย่างอื่น ที่ดีกว่าหรือประณีตกว่าธรรมเครื่องอยู่เป็นผาสุกเช่นนี้ ย่อมไม่มี.
จบอานันทสูตรที่ ๖
อรรถกถาอานันทสูตร
พึงทราบวินิจฉัย ในอานันทสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้:-
บทว่า โน จ ปรํ อธิสีเล สมฺปวตฺตา โหติ ความว่าไม่ติ-
เตียน ไม่กล่าวร้ายผู้อื่น ถึงเรื่องศีล. บทว่า อตฺตานุเปกฺขี ได้แก่ คอยเพ่ง
ดูตน โดยรู้กิจที่ตนทำแล้วและยังไม่ได้ทำ. บทว่า โน ปรานุเปกฺขี ได้แก่
ไม่มัวสนใจในกิจที่ผู้อื่นทำและยังไม่ได้ทำ. บทว่า อปฺปญฺาโต ได้แก่
ไม่ปรากฏ (ไม่มีชื่อเสียง) คือมีบุญน้อย. บทว่า อปฺปญฺาตเกน ได้แก่
เพราะความเป็นผู้ไม่ปรากฏคือไม่มีชื่อเสียง มีบุญน้อย. บทว่า โน ปริตสฺสติ
ได้แก่ ไม่ถึงความสะดุ้ง. ด้วยสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเฉพาะพระ
ขีณาสพเท่านั้น ด้วยประการฉะนี้แล
จบอรรถกถาอานันทสูตรที่ ๖
 
พระปิฎกธรรม