星期四, 五月 12, 2016

Khwam

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 6/23/15  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
สองบทว่า สุโข วิเวโก มีความว่า อุปธิวิเวก กล่าวคือ นิพพาน
เป็นสุข.
บทว่า ตุฏฺฐสฺส มีความว่า ผู้สันโดษด้วยความยินดีในจตุมรรคญาณ.
บทว่า สุตธมฺมสฺส ได้แก่ ผู้มีธรรมปรากฏแล้ว.
บทว่า ปสฺสโต มีความว่า ผู้เห็นอยู่ซึ่งวิเวกนั้น หรือธรรม
อย่างใดย่างหนึ่งซึ่งจะพึงเห็นได้ทั้งหมด ด้วยดวงตาคือญาณ ซึ่งได้บรรลุ
ด้วยกำลังความเพียรของตน.
ความไม่เกรี้ยวกราดกัน ชื่อว่าความไม่เบียดเบียนกัน.
ธรรมเป็นส่วนเบื้องต้นแห่งเมตตา พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงด้วย
บทว่า ความไม่เบียนเบียดนั้น.
สองบทว่า ปาณภูเตสุ สญฺญโม มีความว่า และความสำรวม
ในสัตว์ทั้งหลาย อธิบายว่า ความที่ไม่เบียดเบียนกัน เป็นความสุข.
ธรรมเป็นส่วนเบื้องต้น แห่งกรุณา พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงด้วย
บทว่า ความสำรวมนั้น.
บาทคาถาว่า สุขา วิราคตา โลเก มีความว่า แม้ความปราศจาก
กำหนัด ก็จัดเป็นความสุข.
ถามว่า ความปราศจากกำหนัดเป็นเช่นไร ?
ตอบว่า คือความล่วงกามทั้งหลายเสีย.
อธิบายว่า ความปราศจากกำหนัดอันใด ที่ท่านเรียกว่าความล่วงกาม
ทั้งหลายเสีย แม้ความปราศจากกำหนัดอันนั้น ก็จัดเป็นความสุข. อนาคามิ-
มรรค พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยบทว่า ความปราศจากกำหนัดนั้น.

๑. สุต ศัพท์ในที่นี้ ท่านให้แปลว่า ปรากฏ. เช่นอ้างไว้ใน สุมงฺคลวิลาสินี ภาค ๑ หน้า ๓๗.
 
พระปิฎกธรรม

没有评论: