Pen
turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม
คำศัพท์ 33/237/8 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว
ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”
อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
อิทธิบาท ที่ภิกษุนั้นอาศัยเจริญวิปัสสนา ในกาลนั้น เป็นโลกิยะใน
เบื้องต้น เป็นโลกุตระในเบื้องปลาย แม้อิทธิบาทที่เหลือ ก็อย่างนั้น
ดังนี้. ในพระสูตรแม้นี้ ก็ตรัสอิทธิบาทอันเป็นทั้งโลกิยะและโลกุตระ.
ก็ศรัทธาในบทว่า สทฺธินฺทฺริยํ ภาเวติ ดังนี้ เป็นต้น ชื่อว่า
สัทธินทรีย์ เพราะกระทำความเป็นใหญ่ในศรัทธาธุระของตน. แม้ใน
วิริยินทรีย์เป็นต้น ก็นัยนี้แหละ. ก็ในบทว่า ภาเวติ นี้ พระโยคาวจรผู้
เริ่มบำเพ็ญเพียร ชำระสัทธินทรีย์ให้หมดจดด้วยเหตุ ๓ ประการ ชื่อว่า
เจริญสัทธินทรีย์. แม้ในวิริยินทรีย์เป็นอาทิผิด สระต้น ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
สมจริงดังที่ท่านพระสารีบุตรกล่าวไว้ว่า
สัทธินทรีย์ย่อมบริสุทธิ์ด้วยเหตุ ๓ ประการเหล่านี้
แก่บุคคลผู้เว้นบุคคลผู้ไม่มีศรัทธา ผู้เสพ คบ เข้าไป
นั่งใกล้บุคคลผู้มีศรัทธา ผู้พิจารณาพระสูตรอันน่า
เลื่อมใส.
วิริยินทรีย์ย่อมบริสุทธิ์ด้วยเหตุ ๓ ประการเหล่านี้
แก่บุคคลผู้เว้นบุคคลผู้เกียจคร้าน ผู้เสพ คบ เข้าไป
นั่งใกล้บุคคลผู้ปรารภความเพียร ผู้พิจารณาสัมมัป-
ปธาน (ความเพียรชอบ).
สตินทรีย์ย่อมบริสุทธิ์ด้วยเหตุ ๓ ประการเหล่านี้
แก่บุคคลผู้เว้นบุคคลผู้มีสติหลงลืม ผู้เสพ คบ เข้าไป
นั่งใกล้บุคคลผู้มีสติปรากฏ ผู้พิจารณาสติปัฏฐาน.
สมาธินทรีย์ย่อมบริสุทธิ์ด้วยเหตุ ๓ ประการ
พระปิฎกธรรม
没有评论:
发表评论