星期日, 五月 15, 2016

Thukhati

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 34/236/12 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
นี่วิชชาที่ ๑ อันภิกษุนั้นได้บรรลุ อวิชชาหายไป วิชชาเกิดขึ้น ความมืด
หายไป ความสว่างเกิดขึ้น (เป็นผล) สมแก่ที่ภิกษุเป็นผู้ไม่ประมาทมีความ
เพียร มีตนอันส่งไปอยู่ (เด็ดเดี่ยว)
ภิกษุนั้น ครั้นจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์สะอาด ไม่มีมลทิน ปราศจาก
อุปกิเลส เป็นจิตอ่อนควรแก่งาน ตั้งอยู่ไม่หวั่นไหวอย่างนี้แล้ว น้อมจิตไป
เพื่อจุตูปปาตญาณ (วิชชากำหนดรู้ความตายความเกิด) แห่งสัตว์ทั้งหลาย
เธอก็เห็นสัตว์ทั้งหลายกำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ดี ผิวพรรณงาม
ผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยจักษุทิพย์อันแจ่มใสเกินจักษุมนุษย์สามัญ
รู้ชัดว่าสัตว์ทั้งหลายเป็นตามกรรม (ชี้ได้) ว่า สัตว์เหล่านี้ เจ้าข้า ประกอบ
ด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า มีความเห็นผิด
กระทำกรรมไปตามความเห็นผิด สัตว์เหล่านั้นเพราะกายแตกตายไปก็ไปอบาย
ทุคติอาทิผิด สระ วินิบาต นรก หรือว่า สัตว์เหล่านี้ เจ้าข้า ประกอบด้วยกายสุจริต
วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยะ มีความเห็นชอบ กระทำกรรม
ไปตามความเห็นชอบ สัตว์เหล่านั้น เพราะกายแตกตายไป ก็ไปสู่สุคติโลก
สวรรค์ เธอเห็นสัตว์ทั้งหลายกำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ดี ผิวพรรณงาม
ผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยจักษุทิพย์อันแจ่มใสเกินจักษุมนุษย์สามัญ
รู้ชัดว่าสัตว์ทั้งหลายเป็นตามกรรม อย่างนี้ นี่วิชชาที่ ๒ อันภิกษุนั้นได้บรรลุ
อวิชชาหายไป วิชชาเกิดขึ้น ความมืดหายไป ความสว่างเกิดขึ้น (เป็นผล)
สมแก่ที่ภิกษุเป็นผู้ไม่ประมาทมีความเพียร มีตนอันส่งไปอยู่
ภิกษุนั้น ครั้นจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์สะอาดไม่มีมลทินปราศจาก
อุปกิเลส เป็นจิตอ่อนควรแก่งาน ตั้งอยู่ไม่หวั่นไหวอย่างนี้แล้ว น้อมจิตไป
เพื่ออาสวักขยญาณ (วิชชาทำอาสวะให้สิ้น) เธอรู้ชัดตามจริงว่า นี้ทุกข์
๑. เป็นสำนวนอย่างหนึ่ง หมายความว่า อุทิศร่างกายและชีวิตเพื่อทำการอันนั้นให้สำเร็จจงได้
๒. ทิพจักษุญาณ ก็เรียก
 
พระปิฎกธรรม

没有评论: