Phro
turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม
คำศัพท์ 36/244/4 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว
ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”
อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ปริยายแม้อื่นซึ่งเป็นเหตุให้ภิกษุสงฆ์พึง
อยู่เป็นผาสุก พึงมีอยู่หรือ.
พ. พึงมี อานนท์ แล้วตรัสต่อไปว่า ดูก่อนอานนท์ ภิกษุเป็นผู้
ถึงพร้อมด้วยศีลด้วยตนเอง ไม่ติเตียนผู้อื่นในเพราะอาทิผิด สระอธิศีล ฯ ล ฯ เป็นผู้ได้
ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง เป็น
เครื่องอยู่สบายในปัจจุบัน และย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ
อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน
เข้าถึงอยู่ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล ภิกษุสงฆ์พึงอยู่เป็นผาสุก.
ดูก่อนอานนท์ อนึ่ง เราย่อมกล่าวได้ว่า ธรรมเครื่องอยู่เป็นผาสุก
อย่างอื่น ที่ดีกว่าหรือประณีตกว่าธรรมเครื่องอยู่เป็นผาสุกเช่นนี้ ย่อมไม่มี.
จบอานันทสูตรที่ ๖
อรรถกถาอานันทสูตร
พึงทราบวินิจฉัย ในอานันทสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้:-
บทว่า โน จ ปรํ อธิสีเล สมฺปวตฺตา โหติ ความว่าไม่ติ-
เตียน ไม่กล่าวร้ายผู้อื่น ถึงเรื่องศีล. บทว่า อตฺตานุเปกฺขี ได้แก่ คอยเพ่ง
ดูตน โดยรู้กิจที่ตนทำแล้วและยังไม่ได้ทำ. บทว่า โน ปรานุเปกฺขี ได้แก่
ไม่มัวสนใจในกิจที่ผู้อื่นทำและยังไม่ได้ทำ. บทว่า อปฺปญฺาโต ได้แก่
ไม่ปรากฏ (ไม่มีชื่อเสียง) คือมีบุญน้อย. บทว่า อปฺปญฺาตเกน ได้แก่
เพราะความเป็นผู้ไม่ปรากฏคือไม่มีชื่อเสียง มีบุญน้อย. บทว่า โน ปริตสฺสติ
ได้แก่ ไม่ถึงความสะดุ้ง. ด้วยสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเฉพาะพระ
ขีณาสพเท่านั้น ด้วยประการฉะนี้แล
จบอรรถกถาอานันทสูตรที่ ๖
พระปิฎกธรรม
没有评论:
发表评论