San
turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม
คำศัพท์ 23/280/8 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว
ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”
อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
ได้แก่ ทุกข์นั้นทั้งหมดเทียว. กล่าวว่า ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า พึงมีภาษิตไซร้
ดังนี้ หมายถึง วัฏฏทุกข์ กิเลสทุกข์ และสังขารทุกข์นี้ ด้วยประการฉะนี้.
บทว่า อุมฺมงฺคํ ได้แก่การปรากฏออกมาของปัญญา. บทว่า อมฺมุชฺชมาโน
ได้แก่ ยื่นศีรษะ. บทว่า อโยนิโส อุมฺมุชฺชิสฺสติ ได้แก่ โผล่ศีรษะโดย
ไม่มีอุบาย.
ก็แล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้เรื่องนี้ ไม่ใช่ทรงรู้ด้วยทิพยจักษุ
เจโตปริยญาณ และสัพพัญญุตญาณ. แต่ทรงรู้ด้วยอธิบายเท่านั้น. ก็เมื่อกล่าว
ธรรมดาอธิบายก็รู้ได้โดยง่าย ผู้ประสงค์จะกล่าวย่อมยืดคอ สั่นอาทิผิด อาณัติกะคาง ปากของ
เขาก็ขมุบขมิบ ไม่อาจเพื่อสงบนิ่งได้. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นอาการนั้น
ของพระอุทายีนั้นแล้ว ทรงดูแล้วว่า อุทายีนี้ ไม่อาจเพื่อจะสงบนิ่งได้จักกล่าว
ถ้อยคำที่ไม่เป็นจริงนั้นแล ได้ทรงรู้แล้ว. บทว่า อาทึเยว คือในเบื้องต้นนั้น
เทียว. บทว่า ติสฺโสว เทวทนา ความว่า ปริพาชกโปตลิบุตร เมื่อจะถาม
ว่า บุคคลนั้นจะเสวยอะไรก็กำหนดอย่างนี้ว่า เราจะถามเวทนาสามดังนี้ แล้ว
จึงถามเวทนาสาม. บทว่า สุขเวทนียํ ได้แก่ อันเป็นปัจจัยแห่งสุขเวทนา.
แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้เช่นเดียวกัน. ก็ในที่นี้ ชื่อว่า กรรมอันให้ผลเป็นสุข
เพราะเกิดสุขเวทนาในปฏิสนธิและประวัติอย่างนี้คือ เจตนาสี่ ซึ่งสัมปยุตด้วย
จิตที่สหรคตด้วยโสมนัส โดยกามาวจรกุศล เจตนาในฌานหมวดสามเบื้องต่ำ
ก็ในที่นี้ กามาวจรย่อมยังสุขโดยส่วนเดียวให้เกิดขึ้นในปฏิสนธินั้นเทียว ย่อม
ยังอทุกขมสุขให้เกิดขึ้นในมัชฌัตตารมณ์อัน น่าปรารถนาที่เป็นไปแล้ว. อกุศล
เจตนา ชื่อว่าให้ผลเป็นทุกข์ เพราะเกิดทุกข์เท่านั้นในปฏิสนธิและประวัติ
ก็ครั้นกายทวารเป็นไปแล้ว ก็ยังทุกข์โดยส่วนเดียวนั้นให้เกิดขึ้น. ย่อมยังอทุกขม
สุขให้เกิดขึ้นในวาระอื่น. ก็เวทนานั้น ถึงอันนับว่า ทุกข์นั้นเทียว เพราะ
พระปิฎกธรรม
没有评论:
发表评论