星期五, 十二月 23, 2016

Abhijjha

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 33/228/2 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ผู้ประกอบด้วยสติอันควบคุมการพิจารณาเห็นกายด้วยกาย ๑๘ อย่าง.
บทว่า วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาอาทิผิด โทมนสฺสํ มีอธิบายว่า ภิกษุนำออก
คือข่มตัณหาอันเป็นไปในกามคุณ ๕ และโทมนัสอันประกอบด้วยปฏิฆะ
ในโลก กล่าวคือกายนั้นนั่นแหละ เป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่.
ด้วยประการเพียงเท่านี้ พึงทราบว่า ท่านกล่าวการพิจารณารูปล้วนๆ ด้วย
กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน.
บทว่า เวทนาสุ เวทนานุปสฺสี ความว่า ก็ในคำเป็นต้นว่า
บรรดาเวทนาทั้งหลายมีสุขเวทนาเป็นต้น ภิกษุเป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนา
๙ อย่างดังที่ตรัสไว้อย่างนี้ว่า เมื่อเสวยสุขเวทนา ย่อมรู้ชัดว่า เรากำลัง
เสวยสุขเวทนา เมื่อเสวยทุกขเวทนา ย่อมรู้ชัดว่า เรากำลังเสวยทุกขเวทนา
เมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนา ( เวทนาที่ไม่สุขไม่ทุกข์) ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวย
อทุกขมสุขเวทนา เมื่อเสวยสุขเวทนาอิงอามิส หรือสุขเวทนาปราศจาก
อามิส ทุกขเวทนาอิงอามิส หรือทุกขเวทนาปราศจากอามิส อทุกขมสุข
เวทนาอิงอามิส หรืออทุกขมสุขเวทนาปราศจากอามิส ย่อมรู้ชัดว่า เรา
เสวยอทุกขมสุขเวทนาปราศจากอามิส ดังนี้ พึงทราบเนื้อความในเรื่องนี้
ด้วยอำนาจของวิริยะ ปัญญา และสติ ซึ่งเป็นตัวกำกับการเจริญเวทนา-
นุปัสสนาสติปัฏฐานโดยประการ ๙ อย่าง. ก็ในบทว่า โลเก นี้ พึงทราบว่า
ได้แก่เวทนา.
แม้ในจิตและธรรมเป็นต้นก็มีนัยนี้แหละ. แต่บทว่า จิตฺเต จิตฺตา-
นุปสฺสี ในสูตรนี้ มีความหมายว่า พิจารณาเห็นด้วยอนุปัสสนาอัน
พิจารณาอย่างนี้ ในจิต ๑๖ ประเภทที่ท่านขยายความไว้ว่า หรือย่อม
รู้ชัดจิตมีราคะว่าเป็นจิตมีราคะ ดังนี้.
บทว่า ธมฺเมสุ ธมฺมานุปสฺสี ความว่า พิจารณาเห็นธรรม
 
พระปิฎกธรรม

没有评论: