星期五, 十二月 16, 2016

Khang

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 11/350/2 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
น้ำมันที่ล้นเครื่องตวงจนไม่อาจตวงได้ เขาเรียกว่า น้ำมันล้น
ฉันใด และน้ำที่ท่วมบ่อจนไม่อาจขังอาทิผิด อักขระอยู่ได้ เขาเรียกว่า ห้วงน้ำล้น
ฉันใด คำปีติที่เปี่ยมใจจนไม่อาจเก็บไว้ได้ ดำรงอยู่ภายในใจไม่ได้
ล้นออกมาภายนอกนั้น เรียกว่า อุทาน ฉันนั้น. พระราชาทรงเปล่งคำที่
สำเร็จด้วยปีติเห็นดังนี้.
บทว่า โทสินา ความว่า ปราศจากโทษ. อธิบายว่า ปราศจาก
เครื่องเศร้าหมอง ๔ ประการเหล่านี้ คือ หมอก น้ำค้าง กลุ่มควัน
ราหู.
ราตรีนั้นมีคำชม ๕ ประการ มีเป็นที่น่ารื่นรมย์เป็นต้น ก็ราตรีนั้น
ชื่อว่า รมฺมนียา เพราะอรรถว่า ทำใจของมหาชนให้รื่นรมย์.
ชื่อว่า อภิรูปา เพราะอรรถว่า งามยิ่งนัก เพราะสว่างด้วยแสง
จันทร์ซึ่งพ้นจากโทษดังกล่าว.
ชื่อว่า ทสฺสนียา เพราะอรรถว่า ควรที่จะดู.
ชื่อว่า ปาสาทิกา เพราะอรรถว่า ทำจิตให้ผ่องใส.
ชื่อว่า ลกฺขญฺญา เพราะอรรถว่า ควรที่จะกำหนดวันและเดือน
เป็นต้น.
บทว่า กํ นุ ขฺวชฺช ตัดบทเป็น กํ นุ โข อชฺช.
บทว่า สมณํ วา พฺราหฺมณํ วา ความว่า ชื่อว่าสมณะ เพราะ
เป็นผู้สงบบาป ชื่อว่า พราหมณ์ เพราะเป็นผู้ลอยบาป
บทว่า ยนิโน ปยิรุปาสโต ความว่า จิตของเราผู้เข้าไปหา
สมณะหรือพราหมณ์ผู้ฉลาดพูด เพื่อถามปัญหา พึงเลื่อมใสเพราะได้ฟัง
ธรรมที่ไพเราะ.
 
พระปิฎกธรรม

没有评论: