Wa
turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม
คำศัพท์ 11/337/19 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว
ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”
อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
๒. อรรถกถาสามัญญผลสูตร
พระบาลีสามัญญผลสูตรว่า เอวมฺเม สุตํ เอกํ สมยํ ภควา ราชคเห
ดังนี้ เป็นต้น.
ในพระบาลีนั้น มีการพรรณนาตามลำดับบทดังต่อไปนี้
บทว่า ราชคเห ความว่า ในพระนครซึ่งมีชื่ออย่างนั้น จริงอยู่
พระนครนั้น เรียกกันว่า ราชคฤห์ เพราะพระเจ้ามันธาตุราช และ
ท่านมหาโควินท์เป็นต้น ครอบครอง.
ก็ในคำว่า ราชคฤห์นี้มีนักปราชญ์อื่นอาทิผิด ๆ พรรณนาไว้มากมาย จะ
มีประโยชน์อะไร ด้วยคำเหล่านั้น เพราะคำนั้น เป็นเพียงชื่อของเมือง
เท่านั้น.
พระนครราชคฤห์นี้ เป็นเมืองทั้งในพุทธกาล ทั้งในจักรพรรดิ-
กาล ส่วนในกาลที่เหลือ เป็นเมืองร้าง พวกยักษ์ครอบครอง เป็นป่า
ที่อยู่อาศัยของยักษ์เหล่านั้น.
คำว่า วิหรติ นี้ ตามธรรมดาเป็นคำแสดงถึงความพร้อมเพรียงด้วย
วิหารธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดาอิริยาบถวิหารทิพพวิหารพรหมวิหาร
และอริยวิหาร.
แต่ในที่นี้ แสดงถึงการยืน เดิน นั่ง นอน ซึ่งเป็นอิริยาบถที่
ผลัดเปลี่ยนกันเท่านั้น ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จะประทับยืนก็ตาม
เสด็จดำเนินไปก็ตาม ประทับนั่งก็ตาม บรรทมก็ตาม พึงทราบว่าอาทิผิด สระ วิหรติ
ประทับอยู่ ทั้งนั้น. ด้วยว่า พระองค์ทรงบำบัดความลำบากแห่งอิริยาบถหนึ่ง
ด้วยอิริยาบถหนึ่ง ทรงบริหารอัตตภาพมิให้ทรงลำบากพระวรกาย ฉะนั้น
พระปิฎกธรรม
没有评论:
发表评论