星期三, 五月 30, 2018

Wongkot

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 74/178/18 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
นัยว่าพราหมณ์เหล่านั้น ครั้นได้คชสารแล้วก็ขึ้นคชสารนั้นเข้าไป
ทางประตูใหญ่พากันดื่มถวายพระพร ณ ท่ามกลางพระนคร. อนึ่ง เมื่อมหา
ชนพูดกันว่า พราหมณ์ผู้เจริญท่านขี่ช้างของเรามาจากไหน พราหมณ์ทั้ง
หลายบอกว่า พระเวสสันดรมหาราช พระราชทานแก่พวกเรา พวกท่าน
เป็นใคร แล้วโบกมือไล่ พากันเดินทางต่อไป.
ลำดับนั้นมหาชนมีพวกอำมาตย์เป็นต้น พากันมาประชุมที่ประตู
พระราชวังกล่าวโทษว่า พระราชาควรพระราชทานทรัพย์ ข้าวเปลือก นา
ไร่สวน หรือทาสหญิงชายและนางกำนัลแก่พวกพราหมณ์. พระเวสสันดร
มหาราช พระราชทานมงคลหัตถีอันเป็นช้างพระที่นั่งนี้ไปได้อย่างไร. บัดนี้
พวกเราจักไม่ให้ราชสมบัติต้องพินาศไปอย่างนี้ จึงกราบทูลความนั้นแด่
พระเจ้ากรุงสญชัยมหาราช พระเจ้ากรุงสญชัยมหาราชทรงเห็นด้วยตามคำ
แนะนำ รับจะทำตาม แล้วก็พากันกลับไป. แต่พวกพราหมณ์ยังได้กราบทูล
ว่า :-
พระองค์อย่าฆ่าพระเวสสันดรนั้น ด้วย
ท่อนไม้ หรือศัสตราเลยพระเวสสันดรนั้นไม่
ควรแก่เครื่องพันธนาการเลย แต่ขอพระองค์
จงขับไล่พระเวสสันดรออกจากแว่นแคว้นไป
อยู่ ณ เขาวงกตอาทิผิด สระเถิด พระเจ้าข้า.
 
พระปิฎกธรรม

星期一, 五月 28, 2018

Manda

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 26/680/19 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ภาคเจ้า... ได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรร-
เสริญ ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรมอัน
เกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า.
[๕๙๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากำหนดใจด้วยใจแล้ว ย่อมรู้
บุคคลบางคนในโลกนี้ อย่างอาทิผิด อักขระนี้ว่า แม้เพราะเหตุแห่งมารดา ท่านผู้นี้ก็ไม่จงใจ
พูดมุสา แต่สมัยต่อมา เราเห็นเขาถูกลาภสักการะและความสรรเสริญ
ครอบงำย่ำยีจิตแล้ว ก็กล่าวมุสาทั้งที่รู้ได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลาภ
สักการะและความสรรเสริญ ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็นอันตราย
แก่การบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า ภิกษุ
ทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราทั้งหลาย
จักละลาภสักการะและความสรรเสริญที่เกิดขึ้นแล้วเสีย และลาภสักการะ.
และความสรรเสริญที่เกิดขึ้น ก็จักครอบงำอาทิผิด อักขระจิตของพวกเราตั้งอยู่ไม่ได้
ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงศึกษาอย่างนี้แหละ.
จบมาตุสูตรที่ ๗

อรรถอาทิผิด อักขระกถามาตุสูตรที่ ๗

พึงทราบวินิจฉัยในมาตุสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้.
บทว่า มาตุปิ เหตุ ความว่า เขาถูกพวกโจรถามในดงอย่างนี้ว่า
ถ้าท่านพูดเท็จ เราจักปล่อยมารดาของท่าน ถ้าไม่พูดเท็จ เราจักไม่ปล่อย
ดังนี้ ไม่พึงพูดเท็จทั้งที่รู้อยู่ เพระเหตุแม้แห่งมารดาอาทิผิด สระ เพราะมารดานั้นอยู่
ในเงื้อมมือของโจร. แม้ในบทอื่นแต่นี้ ก็มีนัยเหมือนกันแล.

จบอรรถกถามาตุสูตรที่ ๗
 
พระปิฎกธรรม

星期五, 五月 25, 2018

Si

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 70/152/11 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
พระสัพพัญญุตญาณที่โพธิมัณฑ์นี้ พึงทราบว่า ชื่อว่า อวิทูเรนิทาน ด้วย
ประการฉะนี้.
จบอวิทูเรนิทานกถา

สันติเกนิทานกถา
ก็สันติเกนิทาน ท่านกล่าวว่า ย่อมได้เฉพาะในที่นั้น ๆ อย่างนี้ว่า
“สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในพระเชตวันอันเป็นอารามของ
ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้กรุงสาวัตถี” ดังนี้ และว่า “ ประทับอยู่
ในกูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน ใกล้กรุงเวสาลี” ดังนี้, ท่านกล่าวไว้อย่างนี้.
ก็จริง แต่ถึงอย่างนั้น สันติเกนิทานแม้นั้น พึงทราบตั้งแต่ต้นอย่างนี้.
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประทับนั่งบนชยบัลลังก์ ทรงเปล่งอุทาน
แล้วได้มีพระดำริอย่างนี้ว่า เราแล่นไปถึงสี่อาทิผิด สระอสงไขยแสนกัป ก็เพราะเหตุ
บัลลังก์นี้ เพราะเหตุบัลลังก์นี้แหละ เราได้ตัดศีรษะอันประดับแล้วที่คอ
ให้ไปแล้ว ตลอดกาลมีประมาณเท่านี้ เราควักนัยน์ตาที่หยอดดีแล้ว และ
เชือดหทัยให้ไปแล้ว ให้บุตรเช่นกับชาลีกุมาร ให้ธิดาเช่นกับกัณหาชินา
กุมารีและให้ภริยาเช่นกับพระมัทรีเทวี เพื่อเป็นทาสของคนอื่น ๆ บัลลังก์
ของเรานี้ เป็นบัลลังก์ชัย เป็นบัลลังก์มั่นคง เมื่อเรานั่งบนบัลลังก์นี้แล้ว
ความดำริเต็มบริบูรณ์ เราจักไม่ออกจากบัลลังก์นี้ก่อน ดังนี้ พระองค์จึง
ประทับนั่งเข้าสมาบัติหลายแสนโกฏิ ณ บัลลังก์นั้นนั่นแหละตลอด ๗ วัน
 
พระปิฎกธรรม

星期二, 五月 22, 2018

Fimue

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 2/659/8  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ข้อว่า ทฺวินฺนํ มหานิรยานํ อนุตริกาย อาคจฺฉติ ความว่า
ได้ยินว่า มหาเปตโลกผ่านเมืองราชคฤห์มา, แม่น้ำตโปทานี้มาจากระหว่าง
มหาโลหกุมภีนรก ๒ ขุมในมหาเปตโลกนั้น ; ฉะนั้น จึงเดือดพล่านไหลไปอยู่.
[เรื่องการรบ]
ในเรื่องการรบ พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ :- ข้อว่า นนฺทิ จรติ ได้แก่
ตีกลองพิชัยเภรีเที่ยวประกาศไป.
ข้อว่า ราชา อาวุโส ลิจฺฉวีหิ ความว่า ได้ยินว่า พระเถระนั่ง
ในที่พักกลางวันและที่พักกลางคืนของตนเห็นพวกเจ้าลิจฉวีผู้มีฝีมืออาทิผิด อักขระชำนาญ
ยิงได้แม่นยำ เมื่อคำนึงว่า ก็พระราชาทรงก่อสงครามกับพวกเจ้าลิจฉวีเหล่านั้น
ได้เห็นพระราชาอาทิผิด อักขระทรงปราชัย หนีไปอยู่ ด้วยทิพยจักษุ. ลำดับนั้น พระเถระ
จึงเรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ! พระราชาผู้เป็นอุปัฏฐาก
ของพวกท่าน ทรงปราชัยพวกเจ้าลิจฉวีแล้ว.
คำว่า สจฺจํ ภิกฺขเว โมคฺคลฺลาโน อาห ความว่า โมคคัลลานะ
เมื่อคำนึงในเวลาพระราชาทรงปราชัย กล่าวสิ่งที่ตนเห็น ชื่อว่ากล่าวจริง.
[เรื่องช้างลงน้ำ]
ในเรื่องช้างลงน้ำ พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ :- บทว่า สปฺปินิกาย คือ
แม่น้ำที่มีชื่ออย่างนี้.
บทว่า อเนญฺชํ สมาธึ ได้แก่ จตุตถฌานสมาธิ อันเป็นอเนญชะ
คือ ไม่หวั่นไหว เว้นจากความดิ้นรนทางกายและวาจา.
บทว่า นาคานํ แปลว่า แห่งช้างทั้งหลาย.
ข้อว่า โอคาหํ อุตฺตรนฺตานํ ความว่า ลงน้ำแล้ว ขึ้นอีก. ได้ยินว่า
ช้างเหล่านั้นลงน้ำลึกแล้ว อาบและดื่มในน้ำนั้น เอางวงดูดน้ำแล้วพ่นใส่กัน
และกันจึงขึ้นไป. มีคำอธิบายว่า แห่งช้างเหล่านั้น ตัวลงน้ำแล้วขึ้นอยู่อย่างนี้.
 
พระปิฎกธรรม

星期日, 五月 20, 2018

Bali

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 20/545/24 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
บทว่า อีสิกฏฺฐายิฏฺฐิตา คือตั้งอยู่มั่นดุจเสาระเนียดในหญ้ามุงกระต่าย. ในบท
นั้นมีอธิบายว่า สิ่งใด ที่ท่านกล่าวว่าย่อมเกิด สิ่งนั้นมีอยู่ ดุจเสาระเนียดย่อมออก
ไปจากหญ้ามุงกระต่าย. ปาฐะว่า เอสิกฏุฐาฏฺฐิตา ก็มี. อธิบายว่า เสาระเนียด
ที่ฝั่งไว้ดีแล้ว ไม่หวั่นไหวตั้งอยู่มั่นคง. สภาวะ ๗ กอง ตั้งมั่นแล้วอย่างนั้น.
แม้ด้วยบทที่ ๒ นี้ท่านแสดงถึงความไม่พินาศไปแห่งสภาวะ ๗ กองเหล่านั้น.
บทว่า น อิญฺชนฺติ สภาวะ ๗ กองไม่หวั่นไหว คือไม่สั่นคลอนเพราะตั้งอยู่
มั่นคง ดุจเสาระเนียดฉะนั้น. บทว่า น วิปรินามนฺติ ไม่แปรปรวนคือไม่
ละปรกติไป. บทว่า อญฺญมญฺํ พฺยาพาเธนฺติ คือไม่เบียดเบียนกันและ
กัน. บทว่า นาลํ คือไม่สามารถ.
พึงทราบความในบทมีอาทิว่า ปฐวีกาโย กองดินดังต่อไปนี้. กอง
ดินหรือหมู่ดิน. บทว่า ตตฺถ คือในกองมีชีวะเป็นที่ ๗ เหล่านั้น. บทว่า
นตฺถิ หนฺตา วา ผู้ฆ่าเองไม่มี ท่านแสดงไว้ว่าไม่มีผู้สามารถเพื่อฆ่าเองก็ดี
เพื่อใช้ให้ฆ่าก็ดี เพื่อให้เดือดร้อนก็ดี เพื่อกระทบกระทั่งก็ดี เพื่อเศร้าโศกเอง
ก็ดี เพื่อให้ผู้อื่นเศร้าโศกก็ดี เพื่อได้ยินเองก็ดี เพื่อเข้าใจเองก็ดี. บทว่า
สตฺตนฺนํเยว กายานํ แห่งสภาวะ ๗ กอง ท่านแสดงไว้ว่า เหมือนศัสตราที่ทำ
ลายในกองถั่วเขียวเป็นต้น ย่อมเข้าไปโดยระหว่างกองถั่วเขียว ฉันใด ศัสตรา
สอดเข้าไปโดยช่องในระหว่างสภาวะ ๗ กองก็ฉันนั้น ศัสตราเป็นเพียงสัญญา
อย่างเดียวเท่านั้นว่า เราจะฆ่าผู้นี้เสีย. บทว่า โยนิปฺปมุขสตสหสฺสานิ ท่าน
แสดงทิฏฐิไร้ประโยชน์โดยเพียงคาดคะเนอย่างเดียวว่า กำเนิดที่เป็นประธานและ
กำเนิดสูงสุด ๑,๔๐๖,๖๐๐ กรรม. บทว่า ปญฺจ กมฺมุโน สตานิ ความว่า ๕๐๐
กรรม. แม้ในบทมีอาทิว่า ปญฺจ กมฺมานิ ตีณิ จ กมฺมานิ ๕ กรรมและ
๓ กรรม ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า บทว่า ปญฺจ กมฺมานิ
กรรม ๕ ท่านกล่าวด้วยสามารถอินทรีย์ ๕. บทว่า ตีณิ กรรม ๓ ท่านกล่าวด้วย

๑. บาลีอาทิผิด อาณัติกะว่า เอสิกฎฺ ฐายิฏฺฐิตา มัช. มัช. ๑๓/ ข้อ ๓๐๒.
 
พระปิฎกธรรม

星期六, 五月 19, 2018

Lonakappa

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 9/541/19 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ครั้งนั้น ท่านพระเรวตะได้ไปจากเมืองอุทุมพรสู่เมืองลัคคฬปุระ จึง
ท่านพระเถระทั้งหลายพากันไปเมืองอุทุมพร แล้วถามว่า ท่าพระเรวตะไปไหน
พวกเขาตอบอย่างนี้ว่า ท่านพระเรวตะนั้นไปเมืองอิคคฬปุระ.
ครั้งนั้น ท่านพระเรวตะได้ไปจากเมืองคัคคฬปุระ สู่สหชาตินคร
พระเถระทั้งหลายพากันไปเมืองอัคคฬปุระ แล้วถามว่า ท่านพระเรวตะไปไหน
พวกเขาตอบอย่างนี้ว่า ท่านพระเรวตะนั้นไปสหชาตินครแล้ว พระเถระทั้งหลาย
ไปทันท่านพระเรวตะที่สหชาตินคร.
ปุจฉาวิสัชนาวัตถุ ๑๐ ประการ
[๖๔๒] ครั้งนั้น ท่านพระสมภูตสาณวาสี ได้กล่าวกะท่านพระยสกา.
กัณฑกบุตรว่า ท่านพระเรวตะรูปนี้ เป็นพหูสูต ชำนาญในคัมภีร์ ทรงธรรม
ทรงวินัย ทรงมาติกา เป็นผู้ฉลาด เฉียบแหลม เป็นนักปราชญ์ มีความ
ละอาย มีความรังเกียจ ใคร่ต่อสิกขา ถ้าพวกเราจักถามปัญหากะท่านพระเรวตะ
ท่านพระเรวตะสามารถจะยังราตรีทั้งสิ้น ให้ล่วงไป ด้วยปัญหาข้อเดียวเท่านั้น
ก็แลบัดนี้ ท่านพระเรวตะจักเชิญพระอันเตวาสิกให้สวดสรภัญญะ ท่านนั้น
เมื่อภิกษุรูปนั้น สวดสรภัญญะจบ พึงเข้าไปหาท่านพระเรวตะ แล้วถามวัตถุ
๑๐ ประการนี้ ท่านพระยสกากัณฑกบุตรรับคำของท่านพระสัมภูตสาณวาสีแล้ว
ท่านพระเรวตะได้เชิญพระอันเตวาสิก ให้สวดสรภัญญะแล้ว ท่านพระยสกา-
กัณฑกบุตร เมื่อภิกษุนั้นสวดสรภัญญะจบ ได้เข้าไปหาท่านพระเรวตะ อภิวาท
นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วถามว่า สิงคิโสณกัปปะอาทิผิด อักขระ ควรหรือ ขอรับ.
พระเรวตะย้อนถามว่า สิงคิโสณกัปปะนั้น คืออะไร ขอรับ
ย. คือการเก็บเกลือไว้ในเขนงโดยตั้งใจว่าจักปรุงในอาหารที่จืดฉัน
ควรหรือไม่ ขอรับ.
 
พระปิฎกธรรม

星期四, 五月 17, 2018

To

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 32/462/4 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ในวันขนานนามทารกนั้น เหล่าญาติตั้งชื่อว่าอุทายี เพราะเกิด
ในวันที่ชาวนครทั่วไปมีจิตใจฟูขึ้น (สูง). แต่เพราะเขาเป็นคนดำนิด
หน่อย จึงเกิดชื่อว่า กาฬุทายี กาฬุทายีนั้นเล่นของเล่นสำหรับเด็กชาย
กับพระโพธิสัตว์จนเจริญวัย ต่ออาทิผิด อักขระมาพระโพธิสัตว์เสด็จออกมหาภิเนษ-
กรมณ์ บรรลุพระสัพพัญญุตญาณ ตามลำดับ ทรงประกาศธรรมจักร
อันประเสริฐ. ทรงกระทำการอนุเคราะห์โลก ทรงอาศัยกรุงราชคฤห์
ประทับอยู่. สมัยนั้น พระเจ้าสุทโธทนมหาราช ทรงสดับว่า สิทธัตถ
กุมารบรรลุอภิสัมโพธิญาณ อาศัยกรุงราชคฤห์ประทับอยู่ ณ พระ-
เวฬุวันวิหาร จึงทรงส่งอำมาตย์ผู้หนึ่ง มีบุรุษพันคนเป็นบริวารไปด้วย
พระดำรัสสั่งว่า เจ้าจงนำโอรสของเรามาในที่นี้. อำมาตย์นั้นเดินไป
๖๐ โยชน์เข้าไปยังพระวิหาร ในเวลาที่พระทศพลประทับนั่งกลาง
บริษัท ๔ ทรงแสดงธรรม อำมาตย์นั้นคิดว่า ข่าวสาส์นที่พระราชา
ทรงส่งไปพักไว้ก่อน แล้วยืนท้ายบริษัทฟังพระธรรมเทศนาของพระ-
ศาสดา ก็บรรลุพระอรหัตพร้อมกับบุรุษพันคน ตรงที่ยืนอยู่นั่นแหละ
ครั้งพระศาสดาทรงเหยียดพระหัตถ์แก่อำมาตย์และบุรุษนั้นคนนั้น
ด้วยพระดำรัสว่า พวกเธอจงเป็นภิกษุเถิด ทันใดนั้นเอง ทุกคนก็
ทรงบาตรและจีวรสำเร็จมาแต่ฤทธิ์ ได้เป็นเหมือนพระเถระร้อยพรรษา
นับแต่เวลาบรรลุพระอรหัตกันแล้ว ธรรมดาว่าพระอริยะทั้งหลาย
ย่อมเป็นผู้วางเฉย เพราะฉะนั้น อำมาตย์นั้นจึงไม่ได้ทูลข่าวสาส์นที่
พระราชาทรงส่งไปแด่พระทศพล พระราชาทรงพระดำริว่า อำมาตย์
ยังไม่กลับ มาจากที่นั้น ข่าวคราวก็ไม่ได้ยิน จึงทรงส่งอำมาตย์คนอื่น ๆ
ไปโดยทำนองนั้นนั่นแล อำมาตย์แม้นั้นไปแล้วก็บรรลุพระอรหัตพร้อม
กับบริษัทโดยนัยก่อนนั่นแหละ แล้วก็นิ่งเสีย ทรงส่งบุรุษเก้าพันคน
 
พระปิฎกธรรม

星期二, 五月 15, 2018

Thi

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 35/397/4 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
๗. โมคคัลลานสูตร
ว่าด้วยพระสารีบุตรไปหาพระมหาโมคคัลลานะ
[๑๖๗] ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรไปหาท่านพระมหาโมคคัล-
ลานะถึงที่อาทิผิด อาณัติกะอยู่ ได้ปราศรัยชื่นชมกับพระมหาโมคคัลลานะ ครั้นกล่าวถ้อยคำ
ที่ทำให้เกิดความยินดีต่อกันเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่งลง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง
ได้ถามพระมหาโมคคัลลานะว่า อาวุโส โมคคัลลานะ ปฏิปทา ๔ นี้ คือ
ทุกฺขาปฏิปทา ทนฺธาภิญฺา ฯลฯ สุขาปฏิปทา ขิปฺปาภิญฺา จิตของ
ท่านสิ้นความยึดถือ หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยปฏิปทาอย่างไหน
ในปฏิปทา ๔ นี้
พระมหาโมคคัลลานะตอบว่า อาวุโสสารีบุตร ปฏิปทา ๔ นี้ คือ
ทุกฺขาปฏิปทา ทนฺธาภิญฺา ฯลฯ สุขาปฏิปทา ขิปฺปาภิญฺา จิตของ
ข้าพเจ้าสิ้นความยึดถือ หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัย ทุกฺขา-
ปฏิปทา ขิปฺปาภิญฺา
จบโมคคัลลานสูตรที่ ๗
อรรถกถาโมคคัลลานสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในโมคคัลลานสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-
มรรค ๓ เบื้องต่ำ ของพระมหาโมคคัลลานเถระได้เป็น สุขาปฏิปทา
ทนฺธาภิญฺา (ปฏิบัติง่ายรู้ได้ช้า) อรหัตมรรค เป็นทุกฺขาปฏิปทา
 
พระปิฎกธรรม

星期一, 五月 14, 2018

Chadok

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 58/449/17 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รกฺเขยฺยานาคตํ ภยํ ความว่า
อนาคตภัยมี ๒ อย่าง คือ ภัยที่เป็นไปในทิฏฐธรรมอย่างหนึ่ง
ภัยที่เป็นไปในสัมปรายภพอย่างหนึ่ง ในอนาคตภัย ๒ อย่างนั้น
บัณฑิตเมื่อเว้นบาปมิตรเสีย ชื่อว่าป้องกันภัยที่เป็นไปในทิฏฐธรรม
เมื่อเว้นทุจริต ๓ เสีย ชื่อว่าป้องกันภัยที่เป็นไปในสัมปรายภพ.
บทว่า อนาคตภยา ความว่า เมื่อรังเกียจภัยนั้น เหตุอนาคตภัย
บทว่า ธีโร ความว่า บุรุษผู้เป็นบัณฑิตย่อมไม่กระทำการเกี่ยวข้อง
กับปาปมิตร ย่อมไม่ประพฤติทุจริตโดยทวารทั้ง ๓. บทว่า อุโภ
โลเก ความว่า เพราะบัณฑิตนี้เมื่อกลัวอยู่อย่างนี้ ย่อมพิจารณาเห็น
คือ ย่อมแลเห็นโลกทั้งสอง กล่าวคือโลกนี้และโลกหน้า เมื่อ
รังเกียจอยู่ ย่อมละเว้นปาปมิตร เพราะกลัวภัยในโลกนี้ ย่อมไม่ทำ
บาปกรรม เพราะกลัวภัยในโลกหน้า.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรง
ประชุมชาดกว่า เทวดาผู้บังเกิด ณ ต้นอัสสัตถพฤกษ์ในครั้งนั้น
ได้เป็นพระสารีบุตร ส่วนเทวดาผู้บังเกิด ณ ต้นสะเดาในครั้งนั้น
ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาปุจิมันทชาดกอาทิผิด สระที่ ๑
 
พระปิฎกธรรม

星期日, 五月 13, 2018

Nipphan

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 28/265/16 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
อรรถกถาปฐมรูปารามสูตรที่ ๓
ในปฐมรูปารามสูตรที่ ๓ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า รูปสมุทิตา แปลว่า บันเทิงในรูป. บทว่า ทุกฺขา แปลว่า
ถึงทุกข์. บทว่า สุโข แปลว่า ถึงสุข ด้วยสุข ในพระนิพพาน.
บทว่า เกวลา แปลว่า ทั้งสิ้น. บทว่า ยาวตตฺถีติ วุจฺจติ ความว่า
กล่าวว่า มีอยู่ประมาณเท่าใด.โว อักษร ในคำว่า เอเต โว นี้ เป็น
เพียงนิบาต. บทว่า ปจฺจนิกมิทํ โหติ สพฺพโลเกน ปสฺสตํ ความว่า
ความเห็นของบัณฑิตผู้เห็น ย่อมขัดแย้งผิดกับชาวโลกทั้งมวล. จริงอยู่
ชาวโลก สำคัญขันธ์ ๕ ว่า เที่ยง เป็นสุข เป็นอัตตา เป็นของงาม
บัณฑิต สำคัญว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ไม่งาม. บทว่า
สุขโต อาหุ ได้แก่ กล่าวว่า เป็นสุข. บทว่า สุขโต วิทู ความว่า
บัณฑิตทั้งหลาย รู้ว่าเป็นสุข. คำทั้งหมดนี้ ท่านกล่าวหมายเอาพระนิพพาน
ทั้งนั้น.
ในบทว่า สมฺมูฬฺเหตฺถ นี้ ได้แก่ ผู้หลงพระนิพพาน. บทว่า
อวิทฺทสุ ได้แก่ คนเขลาทั้งหลาย. จริงอยู่ เจ้าลัทธิ ๙๕* ลัทธิทั้งหมด
ความสำคัญว่า “พวกเราจักบรรลุพระนิพพานอาทิผิด สระ” แต่พวกเขา ย่อมไม่รู้
แม้ว่า "ชื่อว่านิพพานคือสิ่งนี้". บทว่า นิวุตานํ ได้แก่ ถูกเครื่องกางกั้น
คือกิเลส หุ้มห่อ ร้อยรัดไว้. บทว่า อนฺธกาโร อปสฺสตํ ได้แก่ ความ
มืดมนย่อมมีแก่ผู้ไม่เห็น. ถามว่า ข้อนั้น ทำไมจึงเป็นอย่างนั้น. แก้ว่า
๑.พม่า เป็น ๙๖
 
พระปิฎกธรรม

星期日, 五月 06, 2018

Ma

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 48/534/11 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
สะบัดคือสลัดเครื่องประดับม้ามีระฆังเล็ก ๆ เป็นต้น ที่ผู้ชำนาญงานทำ
ไว้ดีแล้ว คือเนรมิตไว้อย่างดี. บทว่า เตสํ ได้แก่ เครื่องประดับ
เหล่านั้น.
บทว่า รถสฺส โฆโส ได้แก่ เสียงกึกก้องของรถตามที่กล่าวแล้ว.
อ อักษร ในบทว่า อปิลนฺธนาน จ เป็นเพียงนิบาต ความว่า ของ
เครื่องประดับ คืออาภรณ์ทั้งหลาย อีกอย่างหนึ่ง ท่านกล่าวว่า บทว่า
อปิลนฺธนํ เป็นปริยายคล้ายอาภรณ์ ความว่า เสียงกึกก้องของรถ ของม้า
และของอาภรณ์ทั้งหลาย. บทว่า ขุรสฺส นาโท ได้แก่ เสียงกีบม้า
กระทบ ท่านกล่าวว่า ม้าทั้งหลายไปทางอากาศก็จริง ถึงกระนั้นก็ย่อม
ได้การกระทบในการเหยาะย่างกีบของม้าเหล่านั้น ด้วยกรรมอันเป็นเหตุ
ให้ได้เสียงกระทบของกีบที่ไพเราะ. บทว่า อภิหึสนาย จ ได้แก่ เสียงม้าอาทิผิด
ลำพอง ความว่า เสียงคำรนร้องที่ม้าทั้งหลายให้เป็นไปในระหว่าง ๆ
อาจารย์บางพวกกล่าวว่า อภิเหสนาย เสียงม้าคะนอง. บทว่า สมิตสฺส
ความว่า เสียงของเทวดาที่บันเทิงฟังไพเราะเพราะพริ้ง เพื่อจะตอบคำถาม
ว่า เหมือนอะไร ท่านกล่าวว่า คนฺธพฺพตุริยานิ วิจิตฺตสํวเน ความว่า
เหมือนดนตรีเครื่อง ๕ ของเหล่าคนธรรพเทวบุตรในสวนจิตรลดา ก็
เสียงที่อาศัยดนตรี ท่านกล่าวว่า ตุริยานิ โดยนิสสยโวหาร. ปาฐะว่า
คนฺธพฺพตุริยานํ จ วิจิตฺตสํวเน ดังนี้ก็มี. ท่านนำนิคหิตมาประกอบ
เป็น ตุริยานญฺจ อาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า คนฺธพฺพตุริยานิ วิจิตฺร-
ปวเน ดนตรีของคนธรรพ์ ในสวนจิตรลดา.
บทว่า รเถ ฐิตา ตา ได้แก่ อัปสรที่ยืนอยู่บนรถเหล่านั้น. บทว่า
มิคมนฺทโลจนา ได้แก่ มีดวงตาอ่อนน่ารักเหมือนตาของลูกเนื้อทราย.
 
พระปิฎกธรรม

星期六, 五月 05, 2018

Samphappalapa

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 26/476/15 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
แม่น้ำ เพราะได้น้ำมัน หรือเนยใสแม้นิดหน่อยแล้ว ประสงค์จะให้
หัวเราะกัน ชื่อว่ามีโทษน้อย. แต่มุสาวาทของผู้กล่าวสิ่งที่ตนมิได้เห็น
นั่นแล โดยนัยเป็นต้นว่า ข้าพเจ้าเห็น ชื่อว่ามีโทษมาก.
มุสาวาทนั้น มีองค์ ๔ คือเรื่องไม่จริง ๑ จิตคิดจะกล่าวให้ผิด ๑
ความพยายามเกิดจากจิตนั้น ๑ ผู้อื่นรู้เรื่องนั้น ๑ มีประโยคเดียว คือ
สาหัตถิกะแล. มุสาวาทนั้นพึงเห็นได้ในการทำกิริยาเป็นเครื่องกล่าวให้ผิด
ต่อผู้อื่น ด้วยกายบ้าง ด้วยของเนื่องด้วยกายบ้าง ด้วยวาจาบ้าง ถ้าผู้อื่น
รู้เรื่องนั้น ด้วยกิริยานั้น. เจตนาที่ยังกิริยาให้ตั้งขึ้นนี้ ย่อมผูกมัดด้วย
มุสาวาทกรรมในขณะนั้นแล.
บทในบทเป็นต้นว่า ปิสุณา วาจา ความว่า คนพูดวาจาแก่ผู้
อื่นด้วยวาจาใด กระทำตนให้เป็นที่รักอยู่ในดวงใจของผู้นั้น และทำ
คนอื่นให้เสีย วาจานั้น ชื่อว่า ปิสุณวาจา. ส่วนวาจาใด ทำตนบ้าง
คนอื่นบ้างให้หยาบ. หรือวาจาใดหยาบ แม้ตนเองก็ไม่เพราะหูไม่สบาย
ใจ นี้ชื่อว่า ผรุสวาจา. คนกล่าวเพ้อเจ้อไร้ประโยชน์ เขาชื่อว่า
สัมผัปปลาปะอาทิผิด อักขระ. แม้เจตนาที่เป็นมูลของวาจาเหล่านั้น ก็ย่อมได้ชื่อว่า
ปิสุณวาจาเป็นต้นเหมือนกัน. ก็เจตนานั้นแล ท่านประสงค์เอาในที่นี้.
ในบทนั้น เจตนาของผู้มีจิตเศร้าหมอง อันยังกายประโยคและวจี-
ประโยคให้ตั้งขึ้น เพื่อทำลายชนเหล่าอื่นก็ดี เพื่อประสงค์จะทำตนให้เป็น
ที่รักก็ดี ชื่อว่าปิสุณวาจา. ปิสุณวาจานั้น ชื่อว่ามีโทษน้อย เพราะบุคคล
ผู้ถูกปิสุณวาจีบุคคลทำความแตกกันในผู้มีคุณอาทิผิด สระน้อย ชื่อว่ามีโทษมาก ใน
ผู้มีคุณมาก.
ปิสุณวาจานั้น มีองค์ ๔ คือ ทำลายผู้อื่น ๑ ความเป็นผู้มุ่งเพื่อ
 
พระปิฎกธรรม

星期五, 五月 04, 2018

Rop Khop

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 8/578/1  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุเจ้าถิ่นพึงรอบคอบอาทิผิด อักขระอย่างนี้ แล้วรับ
อธิกรณ์นั้น ไว้ พวกภิกษุอาคันตุกะนั้น พึงกล่าวกะพวกภิกษุเจ้าถิ่นว่า
พวกข้าพเจ้าจักแจ้งอธิกรณ์นี้ตามที่เกิดแล้ว ตามที่อุบัติแล้ว แก่ท่านทั้ง
หลาย ถ้าท่านสามารถระงับอธิกรณ์นี้โดยธรรม โดยวินัย และโดย
สัตถุศาสน์ ระหว่างเวลาเท่านี้ได้ อธิกรณ์จักระงับ ด้วยดีเช่นว่านั้นอย่าง
นี้ พวกข้าพเจ้าจักมอบอธิกรณ์แก่ท่านทั้งหลาย พวกท่านทั้งหลายไม่
สามารถระงับอธิกรณ์นี้โดยธรรม โดยวินัย และโดยสัตถุศาสน์ ระหว่าง
เวลาเท่านี้ได้ อธิกรณ์จักไม่ระงับด้วยดีเช่นว่านั้น พวกข้าพเจ้าจักไม่มอบ
อธิกรณ์นี้แก่ท่านทั้งหลาย พวกข้าพเจ้านี้แหละจักเป็นเจ้าของอธิกรณ์นี้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุอาคันตุกะพึงรอบคอบอย่างนี้ แล้ว
จึงมอบอธิกรณ์แก่พวกภิกษุเจ้าถิ่น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุเหล่านั้นสามารถระงับอธิกรณ์นั้นได้
นี้เรียกว่า อธิกรณ์ระงับดีแล้ว ระงับด้วยอะไร ? ด้วยสัมมุขาวินัย ใน
สัมมุขาวินัยนั้น มีอะไรบ้าง ? มีความพร้อมหน้าสงฆ์ ความพร้อมหน้า
ธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ความพร้อมหน้าบุคคล....
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าอธิกรณ์ระงับแล้วอย่างนี้ ผู้ทำรื้อฟื้น
เป็นปาจิตตีย์ที่รื้อฟื้น ผู้ให้ฉันทะติเตียน เป็นปาจิตตีย์ที่ติเตียน.
อุพพาหิกวิธี
[๖๗๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุเหล่านั้นวินิจฉัยอธิกรณ์
นั้นอยู่ มีเสียงเซ็งแซ่เกิดขึ้นและไม่ทราบความแห่งถ้อยคำที่กล่าวแล้วนั้น
 
พระปิฎกธรรม

星期四, 五月 03, 2018

Khamang

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 45/394/1 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
เหมือนการแทงทะลุของลูกศรที่นายขะมังอาทิผิดธนูผู้ฉลาดยิงออกไป มีการส่องให้
เห็นอารมณ์เป็นกิจ เหมือนดวงประทีป มีการไม่หลงเป็นเครื่องปรากฏ เหมือน
มัคคุเทสก์ชั้นดี บอกทางแก่ผู้ไปป่า แต่โดยพิเศษแล้ว ในที่นี้ ทรงประสงค์
เอาปัญญา กล่าวคืออาสวักขยญาณว่า ชื่อว่า ปัญญาจักษุ เพราะหมายความว่า
เห็นสัจจะทั้ง ๔ ซึ่งพระองค์ตรัสหมายเอาว่า จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้
เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้ว
ดังนี้.
อนึ่ง บรรดาจักษุเหล่านั้น มังสจักษุ เป็นของเล็ก (ปริตตัง)
ทิพยจักษุ เป็นของใหญ่ (มหัคคตะ) นอกนี้ (ปัญญาจักษุ) หาประมาณมิได้
(อัปปมาณัง) มังสจักษุ เป็นรูป สองอย่างนอกนี้เป็นอรูป. ทั้งมังสจักษุ และ
ทิพยจักษุ เป็นโลกิยะยังมีอาสวะ และมีรูปเป็นอารมณ์ นอกนี้ (ปัญญาจักษุ)
เป็นโลกุตระ ไม่มีอาสวะ มีสัจจะทั้ง ๔ เป็นอารมณ์ มังสจักษุเป็นอัพยากฤต
ทิพยจักษุเป็นกุศลก็มี เป็นอัพยากฤตก็มี ปัญญาจักษุก็เหมือนกัน (เป็นกุศลก็มี
เป็นอัพยากฤตก็มี) มังสจักษุ เป็นกามาวจร ทิพยจักษุ เป็นรูปาวจร นอกนี้
(ปัญญาจักษุ) เป็นโลกุตระ พึงทราบการจำแนกโดยนัยมีอาทิดังพรรณนา-
มานี้.
พึงทราบวินิจฉัยในพระคาถาทั้งหลายดังต่อไปนี้ บทว่า อนุตฺตรํ
ตรัสหมายถึงปัญญาจักษุ. ด้วยว่าปัญญาจักษุนั้น ชื่อว่า อนุตฺตรํ เพราะเป็น
อาสวักขยญาณ. บทว่า อกฺขาสิ ปุริสุตฺตโม ความว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้สูงสุดคือเลิศกว่าคนทั้งหลาย ทรงแสดงไว้. ความเป็นไปแห่งมังสจักษุชื่อว่า
อุปปาทะ. อุบายคือเหตุแห่งทิพยจักษุ ชื่อว่ามรรค อธิบายว่า ทิพยจักษุ
เกิดขึ้นแก่ผู้มีตาดี ตามปกติเท่านั้น เพราะมีการเจริญอาโลกกสิณ แล้วเกิด
ทิพยจักษุญาณขึ้น และอาโลกกสิณนั้นไม่มีในมณฑลแห่งกสิณ โดยเว้นจาก
 
พระปิฎกธรรม

星期三, 五月 02, 2018

Pho

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 41/429/14 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
เหมือนอาจารย์บางพวกกล่าวว่า "ไปด้วยอานุภาพของพระพุทธเจ้าบ้าง "ที่เดียว.
ก็ในขณะนั้น พระศาสดาเสด็จเข้าไปสู่กรุงสาวัตถีเพื่อบิณฑบาต.
พาหิยะนั้นถามภิกษุทั้งหลายผู้ฉันอาหารเช้าแล้ว เดินจงกรมอยู่ในที่แจ้ง
เพื่อต้องการเปลื้องความคร้านทางกายว่า "เดี๋ยวนี้ พระศาสดาประทับ
อยู่ที่ไหน ?" ภิกษุทั้งหลายตอบว่า "เสด็จเข้าไปกรุงสาวัตถีเพื่อบิณฑบาต"
แล้วถามบุรุษนั้นว่า "ก็ท่านมาแต่ที่ไหนเล่า ?"
ทารุจีริยะ. ข้าพเจ้ามาแต่ท่าเรือสุปปารกะ.
ภิกษุ. ท่านออกในกาลไร ?
ทารุจีริยะ. ข้าพเจ้าออกในเวลาเย็นวานนี้.
ภิกษุ. ท่านมาแต่ที่ไกล, จงนั่งก่อน, ล้างเท้าแล้วทาด้วยน้ำมัน
แล้ว จงพักเหนื่อยเสียหน่อย, ท่านจักเห็นพระศาสดา ในเวลาที่เสด็จมา.
ทารุจีริยะ. ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าไม่รู้อันตรายแห่งชีวิตของพระ-
ศาสดาหรือของข้าพเจ้า, ข้าพเจ้าไม่ได้หยุด ไม่ได้นั่งในที่ไหน เดินมา
สิ้นทาง ๑๒๐ โยชน์โดยคืนเดียวเท่านั้น, ข้าพเจ้าพออาทิผิด อักขระเห็นพระศาสดาแล้ว
จึงจักพักเหนื่อย.
พาหิยะนั้น กล่าวอย่างนั้นแล้ว มีทีท่าเร่งร้อนเข้าไปยังกรุงสาวัตถี
เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเที่ยวไปบิณฑบาตด้วยพุทธสิริอันหาที่เปรียบ
มิได้ คิดว่า “นานหนอ เราเห็นพระโคดมสัมมาสัมพุทธะ” ดังนี้แล้ว ก็น้อม
ตัวเดินไปตั้งแต่ที่ๆ ตนเห็น ถวายบังคมด้วยเบญจางคประดิษฐ์ในระหว่าง
ถนน จับที่ข้อพระบาททั้งสองแน่น แล้วกราบทูลอย่างนี้ว่า “พระเจ้าข้า
๑. ตรมานรูโป=มีรูปแห่งบุคคลผู้ด่วน แปลตรงศัพท์ ไม่ได้ความแก่ภาษา, เพื่อให้ได้ความ
แก่ภาษาและเหมาะแก่เรื่อง จึงได้แปลอย่างนั้น.
 
พระปิฎกธรรม