星期二, 五月 22, 2018

Fimue

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 2/659/8  ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
ข้อว่า ทฺวินฺนํ มหานิรยานํ อนุตริกาย อาคจฺฉติ ความว่า
ได้ยินว่า มหาเปตโลกผ่านเมืองราชคฤห์มา, แม่น้ำตโปทานี้มาจากระหว่าง
มหาโลหกุมภีนรก ๒ ขุมในมหาเปตโลกนั้น ; ฉะนั้น จึงเดือดพล่านไหลไปอยู่.
[เรื่องการรบ]
ในเรื่องการรบ พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ :- ข้อว่า นนฺทิ จรติ ได้แก่
ตีกลองพิชัยเภรีเที่ยวประกาศไป.
ข้อว่า ราชา อาวุโส ลิจฺฉวีหิ ความว่า ได้ยินว่า พระเถระนั่ง
ในที่พักกลางวันและที่พักกลางคืนของตนเห็นพวกเจ้าลิจฉวีผู้มีฝีมืออาทิผิด อักขระชำนาญ
ยิงได้แม่นยำ เมื่อคำนึงว่า ก็พระราชาทรงก่อสงครามกับพวกเจ้าลิจฉวีเหล่านั้น
ได้เห็นพระราชาอาทิผิด อักขระทรงปราชัย หนีไปอยู่ ด้วยทิพยจักษุ. ลำดับนั้น พระเถระ
จึงเรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ! พระราชาผู้เป็นอุปัฏฐาก
ของพวกท่าน ทรงปราชัยพวกเจ้าลิจฉวีแล้ว.
คำว่า สจฺจํ ภิกฺขเว โมคฺคลฺลาโน อาห ความว่า โมคคัลลานะ
เมื่อคำนึงในเวลาพระราชาทรงปราชัย กล่าวสิ่งที่ตนเห็น ชื่อว่ากล่าวจริง.
[เรื่องช้างลงน้ำ]
ในเรื่องช้างลงน้ำ พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ :- บทว่า สปฺปินิกาย คือ
แม่น้ำที่มีชื่ออย่างนี้.
บทว่า อเนญฺชํ สมาธึ ได้แก่ จตุตถฌานสมาธิ อันเป็นอเนญชะ
คือ ไม่หวั่นไหว เว้นจากความดิ้นรนทางกายและวาจา.
บทว่า นาคานํ แปลว่า แห่งช้างทั้งหลาย.
ข้อว่า โอคาหํ อุตฺตรนฺตานํ ความว่า ลงน้ำแล้ว ขึ้นอีก. ได้ยินว่า
ช้างเหล่านั้นลงน้ำลึกแล้ว อาบและดื่มในน้ำนั้น เอางวงดูดน้ำแล้วพ่นใส่กัน
และกันจึงขึ้นไป. มีคำอธิบายว่า แห่งช้างเหล่านั้น ตัวลงน้ำแล้วขึ้นอยู่อย่างนี้.
 
พระปิฎกธรรม

没有评论: