星期日, 五月 20, 2018

Bali

turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม

คำศัพท์ 20/545/24 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”

 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
 
บทว่า อีสิกฏฺฐายิฏฺฐิตา คือตั้งอยู่มั่นดุจเสาระเนียดในหญ้ามุงกระต่าย. ในบท
นั้นมีอธิบายว่า สิ่งใด ที่ท่านกล่าวว่าย่อมเกิด สิ่งนั้นมีอยู่ ดุจเสาระเนียดย่อมออก
ไปจากหญ้ามุงกระต่าย. ปาฐะว่า เอสิกฏุฐาฏฺฐิตา ก็มี. อธิบายว่า เสาระเนียด
ที่ฝั่งไว้ดีแล้ว ไม่หวั่นไหวตั้งอยู่มั่นคง. สภาวะ ๗ กอง ตั้งมั่นแล้วอย่างนั้น.
แม้ด้วยบทที่ ๒ นี้ท่านแสดงถึงความไม่พินาศไปแห่งสภาวะ ๗ กองเหล่านั้น.
บทว่า น อิญฺชนฺติ สภาวะ ๗ กองไม่หวั่นไหว คือไม่สั่นคลอนเพราะตั้งอยู่
มั่นคง ดุจเสาระเนียดฉะนั้น. บทว่า น วิปรินามนฺติ ไม่แปรปรวนคือไม่
ละปรกติไป. บทว่า อญฺญมญฺํ พฺยาพาเธนฺติ คือไม่เบียดเบียนกันและ
กัน. บทว่า นาลํ คือไม่สามารถ.
พึงทราบความในบทมีอาทิว่า ปฐวีกาโย กองดินดังต่อไปนี้. กอง
ดินหรือหมู่ดิน. บทว่า ตตฺถ คือในกองมีชีวะเป็นที่ ๗ เหล่านั้น. บทว่า
นตฺถิ หนฺตา วา ผู้ฆ่าเองไม่มี ท่านแสดงไว้ว่าไม่มีผู้สามารถเพื่อฆ่าเองก็ดี
เพื่อใช้ให้ฆ่าก็ดี เพื่อให้เดือดร้อนก็ดี เพื่อกระทบกระทั่งก็ดี เพื่อเศร้าโศกเอง
ก็ดี เพื่อให้ผู้อื่นเศร้าโศกก็ดี เพื่อได้ยินเองก็ดี เพื่อเข้าใจเองก็ดี. บทว่า
สตฺตนฺนํเยว กายานํ แห่งสภาวะ ๗ กอง ท่านแสดงไว้ว่า เหมือนศัสตราที่ทำ
ลายในกองถั่วเขียวเป็นต้น ย่อมเข้าไปโดยระหว่างกองถั่วเขียว ฉันใด ศัสตรา
สอดเข้าไปโดยช่องในระหว่างสภาวะ ๗ กองก็ฉันนั้น ศัสตราเป็นเพียงสัญญา
อย่างเดียวเท่านั้นว่า เราจะฆ่าผู้นี้เสีย. บทว่า โยนิปฺปมุขสตสหสฺสานิ ท่าน
แสดงทิฏฐิไร้ประโยชน์โดยเพียงคาดคะเนอย่างเดียวว่า กำเนิดที่เป็นประธานและ
กำเนิดสูงสุด ๑,๔๐๖,๖๐๐ กรรม. บทว่า ปญฺจ กมฺมุโน สตานิ ความว่า ๕๐๐
กรรม. แม้ในบทมีอาทิว่า ปญฺจ กมฺมานิ ตีณิ จ กมฺมานิ ๕ กรรมและ
๓ กรรม ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า บทว่า ปญฺจ กมฺมานิ
กรรม ๕ ท่านกล่าวด้วยสามารถอินทรีย์ ๕. บทว่า ตีณิ กรรม ๓ ท่านกล่าวด้วย

๑. บาลีอาทิผิด อาณัติกะว่า เอสิกฎฺ ฐายิฏฺฐิตา มัช. มัช. ๑๓/ ข้อ ๓๐๒.
 
พระปิฎกธรรม

没有评论: