Khamang
turned_in เรื่อง คำศัพท์ และการอ่านพิสูจน์บทอักษร อักขระบทธรรม
คำศัพท์ 45/394/1 ชื่อเล่ม หน้า บรรทัด
“บทคำศัพท์ พยัญชนะ สระ อันเป็นใจความ ‘เพื่อความบริสุทธิ์ บริบูรณ์ สมบูรณ์ สิ้นเชิง’ ตามนัยซึ่งความหมาย อันที่มีปรากฏมาดีแล้ว
ในบทคำศัพท์ ของพระเถระธรรม บทพระนามกรแห่ง ‘พระวรคติธรรม’ ของคำศัพท์ภาคภาษาไทย ซึ่งไปโดยใน ไปด้วยบทของพระไตรปิฎก หนังสือพระไตรปิฎก บทพระอักษรสยาม”
อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
เหมือนการแทงทะลุของลูกศรที่นายขะมังอาทิผิดธนูผู้ฉลาดยิงออกไป มีการส่องให้
เห็นอารมณ์เป็นกิจ เหมือนดวงประทีป มีการไม่หลงเป็นเครื่องปรากฏ เหมือน
มัคคุเทสก์ชั้นดี บอกทางแก่ผู้ไปป่า แต่โดยพิเศษแล้ว ในที่นี้ ทรงประสงค์
เอาปัญญา กล่าวคืออาสวักขยญาณว่า ชื่อว่า ปัญญาจักษุ เพราะหมายความว่า
เห็นสัจจะทั้ง ๔ ซึ่งพระองค์ตรัสหมายเอาว่า จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้
เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้ว
ดังนี้.
อนึ่ง บรรดาจักษุเหล่านั้น มังสจักษุ เป็นของเล็ก (ปริตตัง)
ทิพยจักษุ เป็นของใหญ่ (มหัคคตะ) นอกนี้ (ปัญญาจักษุ) หาประมาณมิได้
(อัปปมาณัง) มังสจักษุ เป็นรูป สองอย่างนอกนี้เป็นอรูป. ทั้งมังสจักษุ และ
ทิพยจักษุ เป็นโลกิยะยังมีอาสวะ และมีรูปเป็นอารมณ์ นอกนี้ (ปัญญาจักษุ)
เป็นโลกุตระ ไม่มีอาสวะ มีสัจจะทั้ง ๔ เป็นอารมณ์ มังสจักษุเป็นอัพยากฤต
ทิพยจักษุเป็นกุศลก็มี เป็นอัพยากฤตก็มี ปัญญาจักษุก็เหมือนกัน (เป็นกุศลก็มี
เป็นอัพยากฤตก็มี) มังสจักษุ เป็นกามาวจร ทิพยจักษุ เป็นรูปาวจร นอกนี้
(ปัญญาจักษุ) เป็นโลกุตระ พึงทราบการจำแนกโดยนัยมีอาทิดังพรรณนา-
มานี้.
พึงทราบวินิจฉัยในพระคาถาทั้งหลายดังต่อไปนี้ บทว่า อนุตฺตรํ
ตรัสหมายถึงปัญญาจักษุ. ด้วยว่าปัญญาจักษุนั้น ชื่อว่า อนุตฺตรํ เพราะเป็น
อาสวักขยญาณ. บทว่า อกฺขาสิ ปุริสุตฺตโม ความว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้สูงสุดคือเลิศกว่าคนทั้งหลาย ทรงแสดงไว้. ความเป็นไปแห่งมังสจักษุชื่อว่า
อุปปาทะ. อุบายคือเหตุแห่งทิพยจักษุ ชื่อว่ามรรค อธิบายว่า ทิพยจักษุ
เกิดขึ้นแก่ผู้มีตาดี ตามปกติเท่านั้น เพราะมีการเจริญอาโลกกสิณ แล้วเกิด
ทิพยจักษุญาณขึ้น และอาโลกกสิณนั้นไม่มีในมณฑลแห่งกสิณ โดยเว้นจาก
พระปิฎกธรรม
没有评论:
发表评论